Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

Live : อัศจรรย์!! หลวงพ่อแขนลาย บนอะไรก็ได้ดั่งใจหวัง!!

admin | 26-02-2561 | เปิดดู 1864 | ความคิดเห็น 0

  

 

สะท้านทุ่งกรุงศรี!!
หลวงพ่อแขนลาย บนอะไรก็ได้ดังใจหวัง!!
www.arjanpong.com
#วัดศาลาปูน #ศักดิ์สิทธิ์ #อยุธยา #พลังภูผา

 

วัดศาลาปูนวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๓๘ หมู่ ๔ ต.วาสุกรี อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดโบราณตั้งอยู่ริมคลองเมืองพระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำลพบุรีเดิม) ฝั่งตรงกันข้ามกับเกาะเมือง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๘ ไร่

 

มีการสันนิษฐานว่า เหตุที่วัดมีชื่อเรียกว่า "วัดศาลาปูน" คงเนื่องด้วยเป็นชื่อหมู่บ้านที่มีราษฎรประกอบอาชีพเผาปูนขาย ด้านทิศตะวันออกของวัดยังปรากฏซากเตาเผาปูนอยู่ แต่บางท่านก็สันนิษฐานว่าคงชื่อวัดศาลาปูนมาแต่ดั้งเดิม ต่อมาเมื่อทรงราชการคือพระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัด จึงเปลี่ยนนามเป็นวัดโลกยสุธา หรือโลกสุธา โดยยังคงความหมายชื่อเดิมอยู่ เพราะคำว่า “สุธา” แปลว่า ปูนขาว กาลเวลาผ่านไปชื่อโลกยสุธา หรือโลกสุธาที่ทางราชการตั้งคงจะเรียกยาก จึงไม่ติดปากชาวบ้านในที่สุดก็เลือนหายไป กลับมาใช้ชื่อศาลาปูนเหมือนเดิม

ความสำคัญของวัดศาลาปูนในอดีตนั้นเป็นที่สถิตของ พระราชาคณะตำแหน่งพระธรรมราชา สืบต่อกันมา ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๖ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ วัดศาลาปูนเป็นที่สถิตของพระราชาคณะชั้นสมเด็จคือสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) ซึ่งเป็นสมเด็จพระราชาคณะเพียงรูปเดียวที่ได้รับพระราชทานตั้งขึ้นในเขตหัวเมืองชั้นนอก

 

ภายในวัดศาลาปูน คือพระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา "หลวงพ่อแขนลาย" เป็นศิลปะสมัยก่อนอยุธยา เป็นพระพุทธรูปนั่งขนาดหน้าตักกว้าง ประมาณ ๒๙ นิ้ว ลักษณะคล้ายพระอัครสาวกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ซึ่งแขนด้านหนึ่งขององค์พระมีการลงอักขระยันต์ไว้อย่างชัดเจน เชื่อกันว่าเป็นรูปเคารพของพระบรมไตรโลกนาถและพระศรีอารย์ เป็นที่เล่าลือถึงความศักดิ์สิทธิ์และการบนบานศาลกล่าวที่ประสบความสำเร็จในหลายๆ เรื่อง เคยถูกขโมยหลายครั้งแต่ไม่สามารถนำองค์พระออกไปได้

 

"มะพร้าวอ่อน ไข่ พวงมาลัย ปิดทอง และถวายทองคำแท้ ซึ่งที่ผ่านมาเคยมีผู้สมหวังในการบนบานศาลกล่าวนำทองคำแท้มาแก้บนอย่างต่อเนื่อง และเคยมากถึง ๑๐ บาท โดยทางวัดได้นำทองคำทั้งหมดไปเปลี่ยนเงินเพื่อนำเข้าทุนนิธิเพื่อเป็นทุนส่งเสริมการศึกษาของเด็กนักเรียน" นี่เป็นคำบอกเล่าของพระครูอนุกูลศาสนกิจ ฐานิโก หรือพระครูประดิษฐ์ รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดศาลาปูน

พระครูอนุกูลศาสนกิจ ยังบอกด้วยว่า โดยส่วนตัวแล้วสันนิษฐานจากแขนด้านหนึ่งขององค์พระมีการลงอักขระยันต์ไว้อย่างชัดเจนว่า น่าจะเป็นพระเกจิอาจารย์ หรืออดีตเจ้าอาวาสรูปหนึ่งรูปใดของวัดที่มีความศักดิ์มาก ถึงขนาดมีคนศรัทธาสร้างหล่อรูปเหมือนไว้กราบไหว้ เพราะในอดีตนั้นเป็นเรื่องยากมากที่จะสร้างรูปเคารพพระรูปใดรูปหนึ่งขึ้นมา

 

มีใครจะรู้บ้างว่า "หลวงพ่อวัดไร่ขิง" พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่ง วัดไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๒ นิ้วเศษ สูง ๔ ศอก ๑๖ นิ้วเศษ ศิลปะสมัยเชียงแสน สันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยไทยล้านนาและล้านช้าง ตำนานเล่าว่า ลอยน้ำมา จึงอัญเชิญไว้ที่วัดศาลาปูน จากนั้นอัญเชิญพระพุทธรูปจากวัดศาลาปูน จ.พระนครศรีอยุธยา มาประดิษฐานไว้ที่วัดไร่ขิง โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) เมื่อครั้งที่สร้างวัดไร่ขิงใหม่ๆ เมื่อ พ.ศ.๒๓๓๔

 

นอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งน่าสนใจอีกมากมาย เช่น เจดีย์ทรงกลม ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ก่ออิฐสอปูนประกอบด้วยฐานประทักษิณสูง มีระเบียบและบันไดทางขึ้นด้านเดียว

 

ภาพเขียนฝาผนังฝีมือช่างหลวงภายในพระอุโบสถ ด้วยอายุการก่อสร้างนานกว่า ๕๐๐ ปี ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าภาพชำรุดไปมาก ซึ่งเป็นผลพวงจากน้ำท่วมใหญ่ระหว่าง พ.ศ.๒๕๕๔-๒๕๕๕ โดยก่อนหน้านี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๕ โดยในปี ๒๕๕๘ นี้ พระครูอนุกูลศาสนกิจ มีโครงการที่จะบูรณะครั้งใหญ่โดยได้ทำหนังสือถึงกรมศิลปากรแล้ว คาดว่าต้องใช้งบกว่า ๓๐ ล้านบาท

 

ทั้งนี้ พระครูอนุกูลศาสนกิจ มีความหวังเล็กๆ ว่าจะได้พึ่งบารมีและความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อวัดไร่ขิงที่ไปสร้างความเจริญรุ่งเรื่องให้วัดไร่ขิง กลับมาช่วยซ่อมแซมพระอุโบสถวัดศาลาปูนซึ่งครั้งหนึ่งเคยประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถแห่งนี้ให้งามสง่าอีกครั้งหนึ่ง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบุญได้ที่วัดศาลปูน โทร.๐-๓๕๒๔-๒๑๖๕

 

Credit : 
http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/202081

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Tue Apr 30 03:03:24 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>