Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ภูฎาน ไม่เคยง้อใคร

ArjanPong | 16-12-2555 | เปิดดู 2771 | ความคิดเห็น 0

 

 

 

 

                                                                 ประเทศภูฏาน

 

        ภูฏาน

 

 

 

การขอวีซ่า

การขอวีซ่าเข้าภูฏาน สำหรับนักท่องเที่ยวจะต้องขอรวมกันเป็นกรุ๊ปทัวร์ โดยขอผ่านบริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวซึ่งจะเป็นผู้ติดต่อขอวีซ่าให้นักท่องเที่ยว ภูฏานไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาตามลำพังเป็นการส่วนตัว หรือ ไม่รับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาแบบ backpack มานอกจากจะเป็นแขกของรัฐบาลภูฏานเท่านั้น ส่วนค่าธรรมเนียมขอวีซ่านั้นกำหนดโดยรัฐบาลภูฏาน ซึ่งจะรวมค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าพาหนะ ค่าไกด์ท้องถิ่น ฯลฯ เอาไว้ด้วย (ประมาณวันละ 200-250 เหรียญสหรัฐฯต่อคน) ถ้าเดินทางจำนวนน้อยคน เช่น จะขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจำนวนต่ำกว่า 3 คน ก็จะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มอีกต่างหาก วีซ่าสำหรับนักเรียนนักศึกษาได้ลดค่าธรรมเนียมเป็นพิเศษ

 


หน่วยงานที่มีหน้าที่พิจารณาการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏาน คือ Department of Tourism หรือ DOT หน่วยงานนี้สังกัดกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม (Ministry of Industry and Commerce) DOT มีสำนักงานอยู่ที่เมืองทิมพู เมื่อบริษัทตัวแทนท่องเที่ยวดำเนินการขอวีซ่า จะต้องยื่นรายชื่อผู้ที่จะเดินทางเข้าภูฏานพร้อมกับเงินค่าใช้จ่ายทั้งหมดระหว่างที่อยู่ในภูฏาน ทาง DOT จะใช้เวลาพิจารณาการอนุมัติวีซ่าประมาณ 10-15 วันทำการ เมื่อผ่านการพิจารณาแล้วจะส่งรายชื่อผู้ได้รับวีซ่าเข้าภูฏานกลับคืนไปให้บริษัททัวร์ในใบอนุญาตจะมีเลขรหัสสำหรับแสดงต่อเจ้าหน้าที่ภูฏานในเวลาที่เดินทางเข้าประเทศ (ทางอากาศที่สนามบินปาโร ทางบกที่เมืองพูลโซลิง-Phuen-sholing ด่านพมแดนระหว่าอินเดียกับภูฏาน)

 

นักท่องเที่ยวจะต้องได้รับการอนุมัติวีซ่าเข้าภูฏานก่อนการเดินทางและเมื่อถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง ด่านแรกของประเทศภูฏาน เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเอกสารอนุมัติวีซ่าที่ออกให้โดย DOT เมื่อเอกสารต่างๆถูกต้องแล้ว เจ้าหน้าที่จะประทับตราในหนังสือเดินทาง ซึ่งเดินทางเข้าภูฏานจะต้องเสียค่าธรรมเนียมอีกคนละ 20 เหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับรูปถ่าย 2 ใบ (รูปขนาดติดพาสปอร์ต เขียนชื่อกับเลขที่หนังสือเดินทางไว้หลังรูป) ให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองภูฏาน

 

การขอขยายเวลาอยู่ต่อในประเทศภูฏานสามารถทำได้โดยยื่นคำร้องขอต่อวีซ่าที่เมืองทิมพูต้องเสียค่าธรรมเนียมครั้งละ 510 นู (ประมาณ 12 เหรียญสหรัฐฯ) อยู่ต่อได้นานถึง 6 เดือน โปรดจำไว้ว่า สถานทูตภูฏานทุกแห่งในทุกประเทศจะไม่ทำหน้าที่ใดๆเกี่ยวกับการขอวีซ่าเข้าภูฏาน

เอกสารที่ต้องใช้ในการขอวีซ่า

1. scan หน้า passport ที่มีรูป

2. scan รูปถ่ายขนาด 2 นิ้่ว ให้อยู่ file jpg หรือ ไฟล์รูปภาพ / หรือ ส่งรูป ขนาด 2 นิ้่วมาให้บริษัททัวร์

สามารถติดต่อกับ DOT ที่เมืองทิมพู (ทางไปรษณีย์) ได้ที่
Department of Tourism
P.O.Box.126,
GPO Thimphu, Bhutan
โทรศัพท์ (975-2) 323 251,323 252
แฟกซ์ (975-2) 323 695
อีเมล
dot@tourism.gov.bt
เว็บไซต์
www.tourism.gov.bt

จากเหตุผลของการใช้ระยะเวลาในการขอวีซ่าค่อนข้างนานการกำหนดให้จองทัวร์ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนจึงค่อนข้างมีความสำคัญคะ และเนื่องจากนักท่องเที่ยวที่เขาภูฏานมาจากทั่วโลก สายการบินก็มีเพียงสายการบินเดียว การเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวที่ภูฏานจึงต้องวางแผนและใช้เวลากำหนดล่วงหน้านานสักหน่อยนะคะ

ข้อมูลจาก - หนังสือคู่มือนักเดินทางฉบับพกพา "ภูฏาน" หนังสือในเครือเที่ยวรอบโลก

 

 

วันที่ 16 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ถึงความชัดเจนในการลงสมัครผู้ว่า ฯ กทม. ว่า ข่าวสุดารัตน์ ลงไม่ลง ผู้ว่าฯ สับสนเหลือเกิน ขอเรียนยืนยันอีกครั้งว่า ไม่พร้อมลงสมัครผู้ว่าฯจริงๆ ข่าวที่บอกว่าตนบินไปฮ่องกงเพื่อไปขอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ส่งลงสมัครผู้ว่าฯ ก็ไม่จริง ตนไม่เคยขอใครในพรรคเพื่อไทยให้ส่งลงสมัครผู้ว่าฯ ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

"ในที่ประชุมพรรคฯเมื่อวันศุกร์ ดิฉันได้บอกกับเพื่อน พี่น้อง สมาชิกพรรคถึงความไม่พร้อม เนื่องจากงานบูรณะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ดิฉันได้รับผิดชอบอยู่ ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่เพื่อพุทธศาสนาและในหลวงของเรา ที่ดิฉันมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้ดีที่สุด ดิฉันต้องกราบขอโทษผู้สนับสนุนอีกครั้งนะค่ะ ที่ไม่ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ตามแรงเชียร์ เหตุการ์ณที่เถิดขึ้นในที่ประชุมถือเป็นเรื่องที่สะเทือนใจดิฉันเป็นอย่าง ยิ่ง ที่โดนเพื่อนร่วมงานทั้ง ส.ส. สมาชิกสภากรุงเทพ ( ส.ก.) สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ว่าดิฉันทิ้งเพื่อนหรือเป็นแม่ทัพที่หนีทัพยามต้องออกรบ ซึ่งไม่ใช่นิสัยดิฉันเลยที่จะทิ้งเพื่อนทั้งพวกพ้องหรือทรยศหักหลังใคร ดิฉันก็รู้สึกเจ็บปวดไม่แพ้เพื่อนร่วมงานทุกท่าน กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเราต้องกราบขอโทษเพื่อนๆอีกครั้ง และขอความเข้าใจและความเห็นใจให้กับดิฉันด้วย ดิฉันไม่ปราถนาที่จะสร้างปัญหาให้กับใครโดยเฉพาะกับพรรคที่ดิฉันรัก" คุณหญิงสุดารัตน์ระบุ

คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวต่อว่า ตนเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานทุกคน ทั้ง ส.ส. ส.ก. ส.ข. และรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นความจริงใจที่มีให้กัน เราทำงานร่วมกันมายาวนาน ร่วม 20ปี เราผ่านทุกข์ผ่านสุขด้วยกันมามาก ความผูกพันและความจริงใจที่เรามีต่อกัน เป็นความยิ่งใหญ่ในหัวใจพวกเรา ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่จะมาถึงนี้ ตนขอให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้ความเคารพมติพรรคและให้ความร่วมมือกับพรรคอย่างเต็มที่ ในการสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้ ถึงแม้นว่า ตนจะไม่ใช่ผู้สมัครผู้ว่าฯ ของพรรค ขอให้เชื่อมั่นผู้บริหารพรรคจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน และ ขอวิงวอนให้เพื่อน พี่น้องสมาชิกพรรคทุกท่าน ทำงานให้พรรคอย่างเต็มที่เพื่อชัยชนะของพรรค

"ดิฉันต้องกราบขอบพระคุณพี่น้องประชาชนทุกท่านที่ยังเมตตาคิดถึงดิฉัน อยู่ โดยสะท้อนผ่านผลโพลต่างๆว่า ยังต้องการให้ดิฉันกลับมาทำงานรับใช้อยู่ ดิฉันสำนึกในพระคุณของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ และในโอกาสที่เหมาะสมดิฉันยืนยันว่า จะกลับมารับใช้ เพื่อทดแทนบุญคุณของทุกท่าน โดยในระหว่างนี้ที่ดิฉันยังไม่กลับเข้ามารับใช้ทางการเมือง ดิฉันขออาสาเอาความรู้และประสบการณ์ของดิฉัน มาร่วมกับพี่น้องประชาชน ช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างนโยบายสาธารณะ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของพวกเราคนไทย เป็นเสียงเป็นพลังภาคประชาชน เพื่อประชาชน" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว

 

 

 

 

 

ธงชาติ  
คำขวัญ: หนึ่งชาติ,หนึ่งประชาชน
เพลงชาติ: ดรุก เซนเดน
 
 
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ทิมพู
27°28′N 89°38′E / 27.467°N 89.633°E / 27.467; 89.633
ภาษาทางการ ภาษาซองคาและภาษาอังกฤษ
การปกครอง ประชาธิปไตย ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
- พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก
- นายกรัฐมนตรี จิกมี ทินเลย์
การสร้างชาติ
- ราชวงศ์วังชุก 17 ธันวาคม พ.ศ. 2450
พื้นที่
- รวม 47,500 ตร.กม. (132)
18,340 ตร.ไมล์
- แหล่งน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
- 2552 (ประเมิน) 672,425 (117)
- 2550 (สำมะโน) 4,598,556
- ความหนาแน่น 45 คน/ตร.กม. (149)
117 คน/ตร.ไมล์
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2550 (ประมาณ)
- รวม 3.181 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ[1] (152)
- ต่อหัว 3,330 ดอลลาร์สหรัฐ (124)
ดพม. (2546) 0.536 (กลาง) (134)
สกุลเงิน งุลตรัม (BTN)
เขตเวลา BTT (UTC+6:00)
- (DST) not observed (UTC+6:00)
ระบบจราจร ซ้ายมือ
โดเมนบนสุด .bt
รหัสโทรศัพท์ 975

 

 

 

 

 

ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน ) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) [3] เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน

ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) " นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)

ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)

 

สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก

 

มีองค์พระมหากษัตริย์เป็นประมุข ภายใต้การปกครองโดย สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 5 ของราชวงศ์วังชุก ทรงปกครองประเทศโดยมีคณะองคมนตรีเป็นที่ปรึกษา และสภาแห่งชาติที่เรียกว่า ซงดู (Tsongdu) ทำหน้าที่ในการออกกฎหมาย ประกอบด้วยสมาชิก 161 คน

  • สมาชิก 106 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
  • สมาชิก 55 คน มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์

ในสมัยศตวรรษที่ 17 นักบวช ซับดุง นาวัง นำเยล (Zhabdrung Ngawang Namgyal) ได้รวบรวมภูฏานให้เป็นปึกแผ่นและก่อตั้งเป็นประเทศขึ้น และในปี 2194 นักบวชซับดุงได้ริเริ่มการบริหารประเทศแบบสองระบบ คือ แยกเป็นฝ่ายฆราวาสและฝ่ายสงฆ์ ภูฏานใช้ระบบการปกครองดังกล่าวมาเป็นเวลากว่าสองศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2450 พระคณะที่ปรึกษาแห่งรัฐ ผู้ปกครองจากมณฑลต่าง ๆ ตลอดจนตัวแทนประชาชนได้มารวมตัวกันที่เมืองพูนาคา และทำการเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ให้ อูเก็น วังชุก (Ugyen Wangchuck) ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา (Trongsa) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรกของภูฏาน โดยดำรงตำแหน่งเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์แรกแห่งราชวงศ์วังชุก (Wangchuck) เนื่องจากคุณสมบัติที่โดดเด่นของพระองค์ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงตำแหน่งเป็นผู้ปกครองเมืองตองซา ทรงมีลักษณะความเป็นผู้นำและเป็นผู้นำที่เคร่งศาสนาและมีความตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น ราชวงศ์วังชุกปกครองประเทศภูฏานมาจนถึงปัจจุบันสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ปัจจุบันคือ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี เคเซอร์ นัมเกล วังชุก (Jigme Khesar Namgyal Wangchuck) ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2549 เป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์วังชุก

 

 

 

ในปี พ.ศ. 2173 ดรุกปา ลามะ ลี้ภัยจากทิเบตสู่ภูฏาน ต่อมาได้ตั้งตัวขึ้นเป็น ธรรมราชา ปกครองครองดินแดนด้วยระบบศาสนเทวราช มีคณะรัฐมนตรีช่วย 4 ตำแหน่ง แม้ภูฏานจะพยายามแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่ต่อมาก็ถูกรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะทิเบตอยู่หลายครั้งในช่วงพุทธศตวรรษที่ 22 ถึง 23 ในระยะต่อมาก็ยังถูกรุกรานโดยอังกฤษซึ่งมีอำนาจอยู่ในอินเดียก่อนที่จะได้เจรจาสงบศึกกัน ในปี พ.ศ. 2453

 

 

 

 

 

                                       

 

วันที่ 16 ธ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก ถึงความชัดเจนในการลงสมัครผู้ว่า ฯ กทม. ว่า ข่าวสุดารัตน์ ลงไม่ลง ผู้ว่าฯ สับสนเหลือเกิน ขอเรียนยืนยันอีกครั้งว่า ไม่พร้อมลงสมัครผู้ว่าฯจริงๆ ข่าวที่บอกว่าตนบินไปฮ่องกงเพื่อไปขอ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้ส่งลงสมัครผู้ว่าฯ ก็ไม่จริง ตนไม่เคยขอใครในพรรคเพื่อไทยให้ส่งลงสมัครผู้ว่าฯ ไม่ว่าจะเป็น พ.ต.ท.ทักษิณ หรือ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

"ในที่ประชุมพรรคฯเมื่อวันศุกร์ ดิฉันได้บอกกับเพื่อน พี่น้อง สมาชิกพรรคถึงความไม่พร้อม เนื่องจากงานบูรณะสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าที่ดิฉันได้รับผิดชอบอยู่ ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่เพื่อพุทธศาสนาและในหลวงของเรา ที่ดิฉันมีความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้ดีที่สุด ดิฉันต้องกราบขอโทษผู้สนับสนุนอีกครั้งนะค่ะ ที่ไม่ลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ตามแรงเชียร์ เหตุการ์ณที่เถิดขึ้นในที่ประชุมถือเป็นเรื่องที่สะเทือนใจดิฉันเป็นอย่าง ยิ่ง ที่โดนเพื่อนร่วมงานทั้ง ส.ส. สมาชิกสภากรุงเทพ ( ส.ก.) สมาชิกสภาเขต (ส.ข.) ว่าดิฉันทิ้งเพื่อนหรือเป็นแม่ทัพที่หนีทัพยามต้องออกรบ ซึ่งไม่ใช่นิสัยดิฉันเลยที่จะทิ้งเพื่อนทั้งพวกพ้องหรือทรยศหักหลังใคร ดิฉันก็รู้สึกเจ็บปวดไม่แพ้เพื่อนร่วมงานทุกท่าน กับสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเราต้องกราบขอโทษเพื่อนๆอีกครั้ง และขอความเข้าใจและความเห็นใจให้กับดิฉันด้วย ดิฉันไม่ปราถนาที่จะสร้างปัญหาให้กับใครโดยเฉพาะกับพรรคที่ดิฉันรัก" คุณหญิงสุดารัตน์ระบุ

คุณหญิงสุดารัตน์กล่าวต่อว่า ตนเข้าใจความรู้สึกของเพื่อนร่วมงานทุกคน ทั้ง ส.ส. ส.ก. ส.ข. และรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นความจริงใจที่มีให้กัน เราทำงานร่วมกันมายาวนาน ร่วม 20ปี เราผ่านทุกข์ผ่านสุขด้วยกันมามาก ความผูกพันและความจริงใจที่เรามีต่อกัน เป็นความยิ่งใหญ่ในหัวใจพวกเรา ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่จะมาถึงนี้ ตนขอให้สมาชิกพรรคเพื่อไทย ให้ความเคารพมติพรรคและให้ความร่วมมือกับพรรคอย่างเต็มที่ ในการสู้ศึกเลือกตั้งในครั้งนี้ ถึงแม้นว่า ตนจะไม่ใช่ผู้สมัครผู้ว่าฯ ของพรรค ขอให้เชื่อมั่นผู้บริหารพรรคจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับทุกท่าน และ ขอวิงวอนให้เพื่อน พี่น้องสมาชิกพรรคทุกท่าน ทำงานให้พรรคอย่างเต็มที่เพื่อชัยชนะของพรรค

"ดิฉันต้องกราบขอบพระคุณพี่น้องประชาชนทุกท่านที่ยังเมตตาคิดถึงดิฉัน อยู่ โดยสะท้อนผ่านผลโพลต่างๆว่า ยังต้องการให้ดิฉันกลับมาทำงานรับใช้อยู่ ดิฉันสำนึกในพระคุณของพี่น้องประชาชนอยู่เสมอ และในโอกาสที่เหมาะสมดิฉันยืนยันว่า จะกลับมารับใช้ เพื่อทดแทนบุญคุณของทุกท่าน โดยในระหว่างนี้ที่ดิฉันยังไม่กลับเข้ามารับใช้ทางการเมือง ดิฉันขออาสาเอาความรู้และประสบการณ์ของดิฉัน มาร่วมกับพี่น้องประชาชน ช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างนโยบายสาธารณะ ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของพวกเราคนไทย เป็นเสียงเป็นพลังภาคประชาชน เพื่อประชาชน" คุณหญิงสุดารัตน์ กล่าว

 

 

ที่เขาไม่ลง ก็เพราะรู้ว่า พรรคต้องการให้คนอื่นลงมากกว่า โดยการแสดงออกที่ นายกปูไม่ให้ความสนใจ ไม่ลงมาพบหารือด้วย เขาก็ถอนตัวแบบ ถนอมน้ำใจกัน จะหักหน้ากันแบบไม่ให้มีที่ยืนเลย

มันสงสัยติดใจมานานแล้ว ระหว่างที่พรรคพลังประชาชนกำลังพลิกคว่ำพลิกหงายอยู่ในเวลานั้น

หญิงหน่อย แยกตัวไปตั้งกลุ่ม เพื่อนสุดารัตน์ ออกมาเคลือนไหวอยู่แถวๆเขตบางกระปิ เพื่อวัตถุประสงค์อะไร..???

ณ.เวลานั้น ฉีดยุง,เร่ขายสินค้าราคาถูก และกิจกรรมอีกหลายๆอย่าง ทำไมไม่ทำในนามพรรค แต่ทำในนามส่วนตัวเวลานั้นเตรียมการทำอะไร..???

มันสงสัยติดใจมานานแล้ว ระหว่างที่พรรคพลังประชาชนกำลังพลิกคว่ำพลิกหงายอยู่ในเวลานั้น

หญิงหน่อย แยกตัวไปตั้งกลุ่ม เพื่อนสุดารัตน์ ออกมาเคลือนไหวอยู่แถวๆเขตบางกระปิ เพื่อวัตถุประสงค์อะไร..???

ณ.เวลานั้น ฉีดยุง,เร่ขายสินค้าราคาถูก และกิจกรรมอีกหลายๆอย่าง ทำไมไม่ทำในนามพรรค แต่ทำในนามส่วนตัวเวลานั้นเตรียมการทำอะไร..???

 

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Thu May 09 22:23:27 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>