Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

สึนามิถล่มภูเก็ต

ArjanPong | 25-12-2555 | เปิดดู 2648 | ความคิดเห็น 0

 

 

 แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547

 

แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย พ.ศ. 2547 เป็นแผ่นดินไหวใต้ทะเลซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเวลา 07:58:50 ของวันที่ 26 ธันวาคมพ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ตามเวลาในประเทศไทย (หรือเวลา 00:58:50 UTC) มีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรอินเดียบริเวณด้านตะวันตกของหัวเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว ทำให้พื้นที่บริเวณเกาะสุมาตราได้รับความเสียหาย

แผ่นดินไหวเกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลกใต้มหาสมุทรอินเดีย กระตุ้นให้เกิดคลื่นสึนามิสูงราว 30 เมตร[1] เข้าท่วมทำลายบ้านเรือนตามแนวชายฝั่งโดยรอบมหาสมุทรอินเดีย ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ใน 14 ประเทศมากกว่า 230,000 คน นับเป็นหนึ่งในภัยพิบัติทางธรรมชาติครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย รองลงมาคือประเทศศรีลังกาประเทศอินเดีย และประเทศไทย ตามลำดับ

ความรุนแรงของแผ่นดินไหวอยู่ระหว่าง 9.1 ถึง 9.3 โมเมนต์แมกนิจูด ทำให้แผ่นดินไหวครั้งนี้นับเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงเป็นอันดับที่สามตามที่เคยวัดได้จากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (Seismometer) นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นแผ่นดินไหวที่มีคาบเวลายาวนานที่สุด โดยการสังเกตคาบเวลาอยู่ที่ประมาณ 8.3 ถึง 10 นาที ส่งผลให้แผ่นดินทั่วทั้งผืนโลกเคลื่อนตัวไปถึง 1 เซนติเมตร [2] และยังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดแผ่นดินไหวในจุดอื่นๆของโลกอีกด้วย [3]

 

ภาพเคลื่อนไหวของคลื่นสึนามิสุมาตรา (ที่มา: องค์การสมุทรศาสตร์และบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา

 

สรุปความเสียหายและจำนวนผู้เสียชีวิต

ประเทศที่ได้รับความเสียหาย ยืนยัน โดยประมาณ ได้รับบาดเจ็บ สูญหาย Displaced
อินโดนีเซีย 130,736 167,799 n/a 37,063 500,000+
ศรีลังกา2 35,322 35,322 21,411 n/a 516,150
อินเดีย 12,405 18,045 n/a 5,640 647,599
ไทย 5,395 8,212 8,457 2,817 7,000
โซมาเลีย 78 289 n/a n/a 5,000
พม่า 61 400–600 45 200 3,200
มัลดีฟส์ 82 108 n/a 26 15,000+
มาเลเซีย 68 75 299 6 n/a
แทนซาเนีย 10 13 n/a n/a n/a
หมู่เกาะเซเชลส์ 3 3 57 n/a 200
บังกลาเทศ 2 2 n/a n/a n/a
แอฟริกาใต้ 2 2 n/a n/a n/a
เยเมน 2 2 n/a n/a n/a
เคนย่า 1 1 2 n/a n/a
มาดากัสการ์ n/a n/a n/a n/a 1,000+
รวม ~184,167 ~230,273 ~125,000 ~45,752 ~1.69 million

  • มีผู้เสียชีวิตจำนวน 230,000 ราย
  • มูลค่าความเสียหายประมาณ 2,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

 

 

ผลกระทบในประเทศไทย

แผนที่แสดงประเทศที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นสึนามิ

 

ความเสียหายด้านชีวิตและทรัพย์สิน

ข้อมูล ณ วันที่ 10 มกราคมพ.ศ. 2548 มีจำนวนผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหาย ในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 5,309 คน ผู้สูญหายจำนวนทั้งหมด 3,370 คน ต่อมาได้มีการรับแจ้งจากญาติพี่น้องของผู้ประสบภัยภายหลังการเกิดเหตุ จำนวนดังกล่าวนี้ลดลงเพราะได้พบผู้ที่รับแจ้งว่าสูญหายบางคนแล้ว นอกจากนี้ยังมีการค้นพบศพผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการตรวจสอบเอกลักษณ์ของศพที่เก็บรักษาไว้เพื่อให้ทราบว่าเป็นผู้ใด ในรายงานของกระทรวงมหาดไทยที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548

นอกจากมีผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ และผู้สูญหายเป็นจำนวนมากแล้ว ยังมีความเสียหายในด้านทรัพย์สิน ได้แก่ บ้านเรือนของราษฎร โรงแรม บังกะโล เกสต์เฮาส์ ร้านค้า ร้านอาหาร ทรัพย์สินส่วนตัวของนักท่องเที่ยว ยานพาหนะ ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน เป็นมูลค่ากว่าพันล้านบาท [4]

ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ

ด้านเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คือ ภูเก็ตพังงา และกระบี่ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเสียชีวิต และบาดเจ็บมากที่สุด มีแหล่งท่องเที่ยวได้รับความเสียหายมาก จำนวน 7 แห่ง คือ

 

ภาพเหตุการณ์ประชาชนกำลังวิ่งหนีคลื่นสึนามิเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ที่จังหวัดภูเก็ต
  • ชายทะเลเขาหลักในอุทยานแห่งชาติเขาหลัก ลำรู่ ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา (เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวเสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุด)
  • เกาะสิมิลัน อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
  • หาดราไวย์ ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต
  • หาดกะรน ตำบลกะรน อำเภอเมืองฯ จังหวัดภูเก็ต
  • หาดกมลา ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  • หาดป่าตอง ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
  • เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ รวมอีกทั้ง จังหวัดระนอง

 

 

 

 

แผนที่วงแหวนแห่งไฟ
การปะทุของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1980

 

วงแหวนแห่งไฟ (อังกฤษ: Pacific Ring of Fire หรือ the Ring of Fire) เป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหวและภูเขาไฟระเบิดบ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร และวางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟและบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดยมีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายในวงแหวนแห่งไฟทั้งหมด 452 ลูก และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกกรุ่นอยู่กว่า 75% ของภูเขาไฟคุกกรุ่นทั้งโลก[1] ซึ่งบางครั้งจะเรียกว่า circum-Pacific belt หรือ circum-Pacific seismic belt

 

แผ่นดินไหวประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลกและกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ นอกจากวงแหวนแห่งไฟ ยังมีแนวแผ่นดินไหวอีก 2 แห่ง ได้แก่ แนวเทือกเขาอัลไพน์ ซึ่งมีแนวต่อมาจากเกาะชวาสู่เกาะสุมาตรา ผ่านเทือกเขาหิมาลัย และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แนวแผ่นดินไหวแห่งนี้มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 17% ของทั้งโลก และอีกแห่งคือ แนวกลางมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น 5-6% ของทั้งโลก[2][3] วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก[4] แบ่งเป็นส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนัซกาและแผ่นโกโกส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้ ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของประเทศญี่ปุ่น และส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียนา ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบูเกนวิลล์ ประเทศตองกา และประเทศนิวซีแลนด์ แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวแอลไพน์ ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย รอยเลื่อนที่มีชื่อเสียงที่ตั้งบนวงแหวนแห่งไฟนี้ ได้แก่ รอยเลื่อนแซนแอนเดรอัสในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กอยู่เป็นประจำ รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์รัฐบริติชโคลัมเบีย ประเทศแคนาดา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ 3 ครั้ง ได้แก่ แผ่นดินไหวขนาด 7 ริกเตอร์เมื่อ ค.ศ. 1929 แผ่นดินไหวขนาด 8.1 ริกเตอร์ในปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในประเทศแคนาดา) และแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ริกเตอร์ในปี 1970[5]

 

ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงที่ตั้งอยู่ในวงแหวนแห่งไฟ เช่น ภูเขาไฟบียาร์รีกา ประเทศชิลี ภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเกิดการระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1980 ได้พ่นเถ้าถ่านออกมากว่า 1.2 ลูกบาศก์กิโลเมตร ภูเขาไฟฟุจิ ประเทศญี่ปุ่น ระเบิดครั้งล่าสุดเมื่อ ค.ศ. 1707 ภูเขาไฟพินาตูโบมายอนทาล และคานลายอน ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งภูเขาไฟพินาตูโบเคยเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเมื่อปี ค.ศ. 1991 ภูเขาไฟแทมโบราเคลูด และเมราปี ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟลูอาเปทู ประเทศนิวซีแลนด์ และภูเขาไฟเอริบัสทวีปแอนตาร์กติกา

 

แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในแนววงแหวนแห่งไฟนี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย มีขนาด 9 ริกเตอร์ เกิดเมื่อ ค.ศ. 1700 แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย แผ่นดินไหวภาคคันโต ในประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 ศพ แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในฮันชินในปี 1995 และครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยบันทึกไว้ คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 9.3 ริกเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นสึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียที่ถูกถล่มด้วยคลื่นขนาด 10 เมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 230,000 ศพ

 

ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนววงแหวนแห่งไฟ ได้แก่ ประเทศเบลีซโบลิเวียบราซิลแคนาดาโคลัมเบียชิลีคอสตาริกาเอกวาดอร์ติมอร์ตะวันออกเอลซัลวาดอร์ไมโครนีเซียฟิจิกัวเตมาลาฮอนดูรัสอินโดนีเซียญี่ปุ่นคิริบาตีเม็กซิโกนิวซีแลนด์นิการากัวปาเลาปาปัวนิวกินีปานามาเปรูฟิลิปปินส์รัสเซียซามัวหมู่เกาะโซโลมอนตองกาตูวาลู และสหรัฐอเมริกา

 

 

 

 

 

 

แก๊สหุงต้ม
 





ชาวบ้านอ่วม!LPGจ่อขึ้น8บาท อารักษ์ ฟุ้งเตรียมพร้อมช่วยเหลือ (ไอเอ็นเอ็น)

กระทรวงพลังงาน ส่งสัญญาณทยอยปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนไตรมาสที่ 4 ชี้ต้องเป็นราคาเดียวกันภายในเมษายนปี 2556 คาดราคาขึ้นกว่า 8 บาทต่อกิโลกรัม



นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมต.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้เสนอแนวทางลดผลกระทบกับประชาชน จากกรณีราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา โดยให้ทยอยปรับโครงสร้างราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เป็นราคาเดียวกันทุกภาคส่วน โดยเฉพาะในภาคครัวเรือนจะทยอยปรับราคาให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงในไตรมาส 4 ของปี 2555 (กันยายน - ธันวาคม) ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจะทยอยปรับในอัตราที่เท่าไหร่ แต่ทั้งนี้กระทรวงพลังงานจะมีมาตรการช่วยเหลือภาคครัวเรือนให้ใช้ราคาเดิม 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2555



ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนก่อนถึงไตรมาส 4 กระทรวงพลังงานจะเปิดลงทะเบียนกลุ่มครัวเรือนที่แท้จริงคาดว่าจะมีประมาณ 20 ล้านครัวเรือน เพื่อให้ความช่วยเหลือ โดยนำเงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาจ่ายชดเชยแทน ในเบื้องต้นได้เตรียมไว้ประมาณ 10,000 ล้านบาทต่อปี ส่วนวิธีดำเนินการการนั้นอาจใช้แนวทางการจ่ายเงินเข้าบัญชีประชาชนสำหรับชดเชยราคาแอลพีจีที่ปรับสูงเกินกว่า 18.13 บาทต่อกิโลกรัม


สำหรับในส่วนของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)รวมถึงผู้ค้าข้าวแกงรถเข็นต่างๆ กระทรวงพลังงานจะพิจารณาให้การช่วยเหลือตามข้อเท็จจริง โดยนำเงินกองทุนอนุรักษ์พลังงานไปช่วยเหลือ พร้อมทั้งให้ผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ต้องอนุรักษ์พลังงานร่วมด้วย หรือหากกลุ่มใดต้องการความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ กระทรวงพลังงานจะเป็นตัวกลางเจรจาช่วยเหลือตามความเหมาะสมต่อไป ส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกนั้น กระทรวงพลังงานได้เตรียมเงิน 50 ล้านบาท ช่วยเหลือกลุ่มเซรามิกที่เหลืออีก 200 แห่งต่อไป



"ราคาแอลพีจีในภาคอุตสาหกรรมและขนส่งได้ทยอยปรับขึ้นแล้ว แต่ในภาคครัวเรือนจะเริ่มปรับขึ้นไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ และจะทยอยขึ้นไปจนถึงราคากลางที่กระทรวงพลังงานกำหนด คือ ราคาที่ไม่ทำให้เกิดการขายข้ามภาค ไม่เกิดการลักลอบไปจำหน่ายต่างประเทศ และสอดคล้องกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนจะไปเท่ากับราคาภาคอุตสาหกรรมและภาคขนส่งในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม ปี 2556 ที่ 30.13 บาทต่อกิโลกรัม" นายอารักษ์ กล่าว



สำหรับราคาแอลพีจี ปัจจุบันแบ่งเป็น 3 ราคา คือ ราคาภาคขนส่งอยู่ที่ 20.13 บาทต่อกิโลกรัม ราคาภาคอุตสาหกรรม 30.13 บาทต่อกิโลกรัม และภาคครัวเรือน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม อย่างไรก็ตาม หากปรับขึ้นตามราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนให้สะท้อนราคาตลาดโลกที่ปัจจุบัน 884 เหรียญสหรัฐต่อตัน จะทำให้ราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนต้องปรับขึ้นเป็น 26.164 บาทต่อกิโลกรัม หรือปรับขึ้น 8.03 บาทต่อกิโลกรัม จากราคาปัจจุบัน 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ การปรับขึ้นราคาแอลพีจี สุดท้ายนั้นจะต้องพิจารณาราคาแอลพีจีในตลาดโลกเป็นหลักด้วย



นายอารักษ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการปรับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (เอ็นจีวี) นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปตัวเลขครั้งสุดท้าย โดยจะมีการประชุมอีกครั้งระหว่างผู้ประกอบการ กระทรวงพลังงาน และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้ศึกษาโครงสร้างราคาเอ็นจีวี โดยตนจะเข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปผลกันในเร็วๆ นี้ ส่วนมาตรการช่วยเหลือด้านราคาค่าไฟฟ้านั้น นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอีกครั้งในวันนี้ (1 พฤษภาคม) โดยเบื้องต้นจะกำหนดให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ได้เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าฟรี แทนกฎเกณฑ์เดิมที่กำหนดไว้ที่ 90 หน่วยต่อเดือน เนื่องจากพิจารณาแล้วว่าเป็นกลุ่มครัวเรือนที่ยากจนและควรได้รับการช่วยเหลืออย่างแท้จริง

 

 

 

 

ที่มา จากเฟชบุ๊คคุณ สมศักดิ รักสนุก

Posted Image

เทคนิคอย่างนึงที่กระทรวงพลังงานของไทย
พยายามอำพรางคนไทยคือเขียนอะไรเพื่อให้เข้าใจอะไรยากๆ
ดูประเด็นที่ผมจับจากร่างสัญญาซื้อขายก๊าชไทย-มาเลย์ดูนะครับจากภาพและจากเว็ป

35,000 BTU = 1 Kg
1,000,000 BTU = 1,000,000 / 35,000 = 28.257 Kg

หมายความว่า ก๊าชที่มาเลย์ซื้อจากไทยในปี 2538
28.257 Kg ขายที่ราคา 2.30 เหรียญสหรัฐ

(ไม่รู้อัตราแลกเปลี่ยนช่วงนั้นจริงๆ เดาว่า 25 บาท/เหรียญ 25*2.3 = 57.5 บาท
คิดก๊าช/กก.
57.5 / 28.257 = 2.012 บาท ผมอาจพลาดเพราะค่าแลกเปลี่ยนเงิน

เพิ่มให้ไปเป็น 2.50 บาท/กก.ไปเลย (นี่ผมช่วยปตท.ไปมากแล้วนะนี่)
สรุปว่าผมประมาณปตท.ขายก๊าชให้ปิโตรนาสของมาเลย์ที่ กก.ละ 2.50 บาท

 

ปัญหามันมีดังนี้ครับ
1. สัญญานี้เป็นสัญญาการซื้อก๊าชธรรมชาติของปตท.
และปิโตรนาสส่งโดยทางท่อ หมายความว่าไทยกับมาเลย์ใช้ก๊าชแหล่งเดียวกัน

แต่ทำไมมาเลย์ไปขายให้ประชาชนของเขาที่กก.ละ 6.50 บาท
แล้วปิโตรนาสของมาเลเซียเขาอยู่ได้
แล้วทำไมราคาก๊าชเอ็นจีวีขณะนี้ `10.50 บาท/กก.

เฮียเพ้งรมต.จึงบอกว่าอยู่ไม่ได้ ต้องขึ้นไปให้ถึง 14.50 บาท

2. ปตท.ขายให้มาเลย์ถูกมาก แล้วทำไมปตท.
จึงไปซื้อก๊าชจากพม่าที่กก.ละ 12 บาทมาให้คนไทยใช้
ทั้งใช้ผลิตไฟฟ้าและใช้กับรถยนต์

สรุปคือ ก๊าชบ่อเดียวกันแหล่งเดียวกัน แต่พอเลี้ยวซ้ายไปมาเลย์

มาเลย์ไปขายต่อให้ประชาชนของตัวเองกก.ละ 6.50 บาทมีกำไร
แต่พอเลี้ยวขวาเข้ามาไทย10.50 บาท/กก.
ปตทบอกขาดทุนต้องขึ้นให้ถึง 14.50 บาท/กก. ปตท.จึงพอจะอยู่ได้


ท่านเชื่อหรือครับว่าพม่าเขาได้ค่าก๊าชที่ 12บาท/กก.
จริงๆหากจริงพม่าก็คงจะเป็นประเทศแรกของโลก
ที่ขายก๊าชธรรมชาติได้ราคาขนาดนี้เพราะที่อเมริกาขาย
ให้ประชาชนไม่เกินกก.ละ 3บาท เรื่องนี้เดี๋ยวมีแฉ

ความคิดเห็น

วันที่: Sun May 19 01:12:15 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>