Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

โรฮิงยา

ArjanPong | 28-12-2555 | เปิดดู 2970 | ความคิดเห็น 0

 

.
28 ธันวาคม...วันพระเจ้าตากสินมหาราช
................................................................................​...................
*ถอดรหัส หางม้าทรง*

...อนุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ที่วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี
น่าแปลกไหม อนุสาวรีย์หล่อตั้งแต่ ปี 2480 ยุคพระยาพหลพลพยุหเสนา
แต่กว่าจะได้ติดตั้ง ต้องใช้เวลาต่อสู้กับกลุ่มอำมาตย์เก่า อยู่นานถึง 17 ปี

มาสำเร็จเอาในปี 2497 ยุครัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม
และแม้จะทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้ว
แต่ก็ยังไม่วาย ถูกขุนนางผู้ดีในยุคนั้น ทั้งสายสถาปนิก นักวิจารณ์ศิลปะ
และสัตวแพทย์หลายคน โจมตี

เหตุเพราะม้ายืนตรง แต่กลับทำหางชี้สูง ไม่ลู่ลง
โวยวายจนเป็นข่าว ลงหนังสือพิมพ์หน้าหนึ่งหลายฉบับว่า

...เป็นม้าที่ดูอุบาทว์ ประดักประเดิด...

สี่ขายืนสงบนิ่ง ไม่ได้ทำท่ากระโจนสักนิด แต่กลับยกหางสั่น
เหมือนพวกขี้ครอกขึ้นวอ

...ท่าเช่นนี้เหมือนม้ากำลังขี้...( ยุคนั้น ใช้คำว่าขี้ ชัดเต็มปากเต็มคำ )

อ.ศิลป์ พีระศรี ผู้ออกแบบ โดนรุมประณามว่ามั่วนิ่มปั้น

ซึ่งที่จริงแล้ว อ.ศิลป์ ท่านให้ความสำคัญกับม้าทรงชิ้นนี้ ยิ่งกว่างานปั้นใดๆ
ถึงกับลงทุน ปีนนั่งร้านที่สูงกว่า 3 เมตร ขึ้นไปปรับแต่งปั้นดิน
จนถึงพอกปูนทุกขั้นตอน เป็นเหตุให้พลัดตกลงมาแขนขาหัก ต้องเข้าเฝือก

อีกทั้ง อ.ศิลป์ ท่านยังคิดถึงเรื่องสายพันธุ์ของม้า ซึ่งต้องเป็นม้าไทยเท่านั้น

พวกที่วิจารณ์ก็คือ กลุ่มผู้ลากมากดีสยาม ที่ดูถูกชาวจีนว่าเป็นคนต่างด้าว
จึงจ้องแต่จะทับถมเกียรติภูมิ ของพระเจ้าตากสิน ผ่านการกดหางม้าทรงไว้

.......ไม่ให้ผยองผองขน

ข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผย จากเอกสารต่างชาติก็คือ เมื่อครั้งที่มีการจ้าง
ศิลปินชาวฝรั่งเศส หล่อพระบรมรูปทรงม้า รัชกาลที่ 5 นั้น ทางสยาม
ต้องการให้ม้าทรง อยู๋ในท่ายกขาหน้าเหมือนม้าของ นโปเลียน

แต่ทางโรงหล่อที่ยุโรป ได้แย้งกลับมาว่า ท่าม้าเผ่นผยองยกขาหน้า
ตามธรรมเนียมสากล มีไว้สำหรับ จักรพรรดิที่เป็นนักรบเท่านั้น

ไม่อาจปั้นให้ได้ จึงปั้นในท่าทรงม้าสงบนิ่ง อย่างที่เราเห็น

สำหรับพระเจ้าตากสินมหาราช อ.ศิลป์ ท่านเป็นคนยุโรป ย่อมเข้าใจเรื่องนี้ดี
เมื่อเริ่มต้นปั้น ก็ได้ปั้นม้าอยู่ในท่าผาดโผนโจนทะยาน แต่แล้วสุดท้าย

อำนาจพิเศษ ได้เข้ามากำกับ ไม่ต้องการให้มหาราชพระองค์นี้

............ดูโดดเด่นเกินหน้าเกินตา

ทำให้ต้องแก้ไข แบบของม้าทรงถึง 5 ครั้ง ในเมื่อไม่สามารถปั้นให้
ม้าทรงยกขาหน้าได้ อ.ศิลป์ จึงแอบซ่อนรหัสนัย ไว้ที่หางม้าให้ตระหวัดขึ้น
เป็นท่าของม้า ที่อยู่ในลักษณะพร้อมที่จะออกวิ่งทะยานอยู่ทุกขณะ

...รอว่าเมื่อไหร่องค์จอมทัพ จะกระชับบังเหียนให้สัญญาณเท่านั้น...

ปากที่เผยอจนเห็นฟัน และหางที่เป็นพวงชี้สูงขึ้น
นับว่าสอดคล้องกันแล้ว กับความตื่นคะนองของม้าศึก

ผู้ลากมากดีสยามทั้งหลาย จึงควรสำเหนียกกันไว้ด้วยว่า ม้าทรงตัวนี้

กำลังประกอบวีรกรรม ........กอบกู้ชาติ !

*บางส่วนจากงานเขียนของ เพ็ญสุภา สุขคตะ ใจอินทร์
................................................................................​...................

ไม่มีพระเจ้าตาก

ไม่มีประเทศไทย ในแผนที่โลก


                                             

 

 

 

                                         โรฮิงยา...

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เข้าเว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอ มีบทความโดย ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ เรื่อง โรฮิงยา ประชาชนที่ถูกลืมในพม่า สรุปความได้ว่า ประเทศพม่าเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติมากที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากมีประชาชนที่เป็นคนเชื้อชาติพม่า กะเหรี่ยง มอญ คะฉิ่น อารากัน ฯลฯ แต่กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ไม่ได้รับการพูดถึงมากมายในเวทีวิชาการพม่าจนถึงในขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตย คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกว่า "โรฮิงยา" (Rohingyas)



ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอารากัน (ยะไข่) ในตอนเหนือของประเทศพม่า ติดกับชายแดนประเทศบังกลาเทศ ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในเมือง Maungdaw, Buthidaung, Rathedaung,

Akyab และ Kyauktaw ชาว โรฮิงยาส์มีภาษาเป็นของตัวเอง คือ ภาษาอินดิค (Indic language) ที่มีความคล้ายกับภาษาเบงกาลีที่ใช้พูดในประเทศบังกลาเทศและอินเดีย ประชากรของชาวโรฮิงยาส์มีประมาณ 7 แสนถึง 1.5 ล้านคนในรัฐอารากันที่มีประชากรมากถึง 3 ล้านคน

 



ประวัติศาสตร์ของชาวโรฮิงยายังมีความหลากหลายมากในปัจจุบัน มีรายงานและงานวิจัยหลายส่วนที่ให้ข้อมูลไว้ว่าเป็นผู้คนที่อยู่ในตอนเหนือรัฐอารากันมาตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 7-12 และ นับถือศาสนาอิสลามเนื่องจากพื้นที่ทางตอนเหนือของรัฐอารากันมีพ่อค้าชาวอาหรับเข้ามาค้าขายเป็นเวลายาวนาน แต่ในมุมมองของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า ชาวโรฮิงยาส์เป็นประชาชนที่ "ลี้ภัยอย่างผิดกฎหมาย" และอพยพมาจากประเทศบังกลาเทศในสมัยที่พม่าตกอยู่ภายใต้อาณา นิคมของจักรวรรดินิยมอังกฤษ ดังนั้น ด้วยทัศนคติเช่นนี้ของรัฐบาลทำให้ประชาชนชาวโรฮิงยาไม่ได้รับการรวมเข้าไปในกลุ่มชนพื้นเมือง (Indigenous groups) ในรัฐธรรมนูญพม่า ส่งผลให้ไม่ได้รับสัญชาติพม่า

 



การที่ชาวโรฮิงยาไม่ได้รับสัญชาติทำให้ไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ จากรัฐบาล ทั้งยังถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องมากกว่าชนกลุ่มน้อย หรือประชาชนเชื้อชาติอื่นๆ โดยเฉพาะจากความแตกต่างทางศาสนาและเชื้อชาติ ถูกเลือกปฏิบัติในทุกระดับ ซึ่ง รวมถึงสิทธิที่จะนับถือศาสนา การเข้าถึงการศึกษา สิทธิในการรักษาโรค จนถึงไม่สามารถแต่งงานได้ ถูกบังคับให้ทำงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทน และไม่สามารถเดินทางเพื่อไปประกอบอาชีพนอกพื้นที่ได้ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนมาก เป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า

 



นอกจากนี้ ชุมชนชาวโรฮิงยายังต้องผจญกับการปราบปรามอย่างต่อเนื่อง โดยมีเหตุการณ์สำคัญในปีค.ศ.1962 ค.ศ.1978 และ ค.ศ.1991 ทำให้มีผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงยาส์หลบหนีภัยเข้าไปในบังกลาเทศ ปากีสถาน ซาอุดีอาระเบีย เป็นหลัก โดยที่ประเทศรองลงมาคือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรชาว โรฮิงยาในไทยไม่ได้มีจำนวนมากเท่าในบังกลาเทศหรือในมาเลเซีย มีจำนวนประมาณ 10,000-15,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ที่จังหวัดระนองและมหาชัย

 



และเนื่องจากพม่าไม่ได้ให้การรับรองว่าเป็นประชาชนของพม่า การให้สถานภาพทางการเมืองกับชาวโรฮิงยาจึงเป็นไปได้ยากมาก เนื่องจากชาวโรฮิงยาไม่ได้อยู่ในกลุ่มเชื้อชาติที่กระทรวงมหาดไทยจะให้สถานภาพทางการเมือง เช่น แม้ว่าชาวพม่าทั่วไปจำนวนหนึ่งจะสามารถลงทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ชาวโรฮิงยาไม่สามารถทำได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รัฐไม่ได้มีความรู้ในส่วนนี้และไม่เข้าใจว่าประชาชนชาวโรฮิงยาเป็นคนพม่า และหลายครั้งเข้าใจผิดว่าเป็นคนบังกลาเทศ ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงยา ถูกกดขี่มากกว่าแรงงานพม่า

 

 โรฮินญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่

 

 

ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า

 

 

นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้ ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง

 

  

 

โรฮินญา เป็นประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามในรัฐอาระกัน ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในรัฐ ถูกเหยียดหยามและเลือกปฏิบัติโดยรัฐบาลทหารพม่าอย่างต่อเนื่อง และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมากโดยรัฐบาลทหารพม่า ตั้งแต่การบังคับไม่ให้เคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ตามกฎหมายสัญชาติพม่าปี 1982 (Burma Citizenship Law) ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลทหารถ้าจะออกจากพื้นที่ และต้องจ่ายเงินถ้าจะออกจากพื้นที่

 

 

ทำให้มีสถานภาพความเป็นอยู่ที่ต่ำมาก เนื่องจากไม่สามารถหางานทำหรือค้าขายได้ ซ้ำร้ายยังถูกละเมิดไม่ให้รับสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ ห้ามแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลทหารพม่า

 

 

นับว่าเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีสถานการณ์ความเป็นอยู่ที่เลวร้ายที่สุดในพม่า ด้วยเหตุนี้ทำให้ชาวโรฮิงญาต้องหนีภัยจากพม่าเป็นจำนวนมาก หากพิจารณาเหตุปัจจัยเหล่านี้ ชาวโรฮิงญาจึงน่าจะมีสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งโดยหลักปฏิบัติของนานาชาติแล้ว ผู้ลี้ภัย หรือผู้หนีภัยความตาย จะต้องไม่ถูกส่งกลับเพื่อไปเผชิญหน้ากับภาวะความเสี่ยงต่อชีวิต และจะต้องได้รับการช่วยเหลือคุ้มครองจากประเทศที่เข้าไปลี้ภัยด้วยหลักมนุษยธรรมในฐานะมนุษยชนคนหนึ่ง

 

 

 

 

 

 

วีระ-ราตรี ยิ้ม หลัง สุรพงษ์ เปรยเตรียมพากลับบ้าน

Posted Image

 

 

พร้อมเปิดสายด่วน ช่วยนักท่องเที่ยวต่างชาติถูกเอาเปรียบ


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึง การให้ความช่วยเหลือ นายวีระ สมความคิด และ น.ส.ราตรี พิพัฒนไพบูลย์ 2 คนไทยที่ถูกจำคุกในกัมพูชา นั้น


นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกฯ และ รมว,ต่างประเทศ ระบุว่า ขณะนี้ น.ส.ราตรี รับโทษจะครบ 1 ใน 3 แล้ว เร็วๆ นี้ จะมีการดำเนินการเพื่อขอโอนตัวนักโทษต่อไป
ซึ่งการโอนตัวนักโทษอาจมีข้อจำกัดเรื่องฐานความผิด จึงต้องไปดูรายละเอียดต่อไป ทั้งนี้เชื่อว่าการโอนตัวนักโทษจะทำได้ง่ายกว่าการขอพระราชทานอภัยโทษที่จะ ต้องรับโทษ 2 ใน 3 ก่อน


ส่วนกรณีประเทศออสเตรเลีย ประกาศเตือนนักท่องเที่ยวให้ระวังเกี่ยวกับถูกรีดไถ โดยเฉพาะเจ็ทสกี ซึ่งเคยมีเหตุการณ์ในอดีตมาก่อน และให้หลีกเลี่ยงการเที่ยวในยามวิกาล เพราะอาจเสียงต่อการถูกชิงทรัพย์และทำร้ายร่างกาย ว่า


ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เพราะส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว โดยได้นำเรื่องนี้หารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ ซึ่ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้กำชับทุกหน่วยงาน ให้ดูแลอย่างเข้มงวด เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในไทยจำนวนมากในช่วงเทศกาลปีใหม่ ซึ่งอาจดูแลได้ไม่ทั่วถึง


นอกจากนี้ ขอร้องคนไทยในพื้นที่ท่องเที่ยว ให้ช่วยดูแลนักท่องเที่ยวและให้ความช่วยเหลือเมื่อพบว่านักท่องเที่ยวประสบ เหตุ ที่สำคัญขอฝากมิจฉาชีพคนไทย อย่าทำร้ายนักท่องเที่ยว เพราะจะเสียภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย


สำหรับปีนี้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยแล้วกว่า 21 ล้านคน ซึ่งมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว 4 ล้านคน โดยหากนักท่องเที่ยวมีปัญหาสามารถโทรเข้าสายด่วน 1672 ,1155 , 02-1344077, 02-356 0650 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีผู้รับสายพูดภาษาอังกฤษด้วย และตนเองจะฝากเบอร์ทั้งหมดให้กับสถานทูตต่างๆ เพื่อความสะดวกในการประสานงานต่อไป

 

 

 

[ภาพ: 14698_10200302836879402_1731284324_n.jpg]

 

 

 

สิทธ์ในการประกันตัว นั่นคือพื้นฐานสิทธิมนุษย์ชนเลยนะครับท่านผู้พิจารณา

ความคิดเห็น

วันที่: Sat May 18 23:55:53 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>