Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ฉนวนกาซา

ArjanPong | 08-01-2556 | เปิดดู 2790 | ความคิดเห็น 0

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า ฉนวนกาซ่า (Gaza Strip) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบๆ ขนาด 362 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง ทางเหนือและตะวันออกติดอิสราเอล ทางใต้ติดคาบสมุทรไซนายของอียิปต์

ชื่อกาซ่านั้นมาจากเมืองกาซ่า ซึ่งเป็นเมืองหลักในเขตนี้

มีผู้คนเข้าไปตั้งรกรากตั้งแต่ 3,000 กว่าปีมาแล้ว



อาณาจักรออตโตมานเคยปกครองฉนวนกาซ่าหลายร้อยปี จนกระทั่งตกเป็นดินแดนใต้อาณัติของอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ต่อมาถูกอียิปต์ยึดครองในปี 2491 ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ก่อนที่จะถูกอิสราเอลยึดไปในสงคราม 6 วัน ปี 2510



ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดให้การรับรองฉนวนกาซ่าว่าเป็นดินแดนที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง บางส่วนถือว่าเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลปฏิเสธหลังจากถอนทหารไปเมื่อปี 2548



มีประชากรชาวปาเลสไตน์อาศัยอยู่ราว 1.4 ล้านคน และเป็นฐานที่มั่นของกลุ่มฮามาส นับเป็นดินแดนที่มีผู้คนอยู่แออัดที่สุดแห่งหนึ่งในโลก คือเฉลี่ยถึง 2,350 คนต่อ 1 ตารางกิโลเมตร



โดยราว 900,000 คน เป็นครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์ที่หนีภัยสงครามระหว่างชาติอาหรับกับอิสราเอล ซึ่งฝ่ายหลังเป็นผู้ชนะและนำไปสู่การตั้งประเทศอิสราเอลในปี 2491



ส่วนใหญ่ยากจนเพราะอิสราเอลปิดพรมแดน ทำให้การค้าและการเดินทางออกไปทำงานนอกพื้นที่ถูกปิดกั้น เนื่องจากพรมแดนของฉนวนกาซ่าถูกแบ่งโดยกองทัพอิสราเอลและอียิปต์



ปี 2536 อิสราเอลและปาเลสไตน์เซ็นสนธิสัญญาออสโล อนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซ่า



ปี 2548 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีแอเรียล ชารอน อิสราเอลถอนทหารและประชาชนชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซ่าทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการหมดอำนาจปกครองของอิสราเอลที่ยาวนานมาถึง 36 ปี



ปัจจุบันอิสราเอลยังควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซ่าจากภายนอก ส่วนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของฉนวนกาซ่ายังไม่ได้ข้อยุติ



คำว่า ฉนวน แปลว่า วัตถุที่ไม่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านได้ จึงสกัดกั้นความร้อนไม่ให้ส่งผ่านจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่งได้ง่าย



ที่เรียกว่า ฉนวนกาซ่า เพราะกาซ่าเป็นดินแดนกันชนระหว่างอิสราเอล กับปาเลสไตน์ ที่มีเรื่องขัดแย้งกัน



เหมือนไทยในอดีตที่เป็นกันชนระหว่างอาณานิคมของอังกฤษกับฝรั่งเศสบนดินแดนสุวรรณภูมิ

 

             

 

                  ฉนวนกาซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
 
 
แผนที่ฉนวนกาซา

ฉนวนกาซา (อังกฤษ: Gaza Strip อาหรับ: قطاع غزة ฮิบรู: רצועת עזה‎ ) เป็นชื่อเรียกอาณาบริเวณแคบๆ ขนาด 360 ตร.กม. ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในตะวันออกกลาง ชื่อ "กาซา" นั้นมาจากเมืองกาซาซึ่งเป็นเมืองหลักในอาณาเขตนี้

 

โดยมีประชากรชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประมาณ 1.7 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากผู้อพยพลี้ภัย โดยในการสำรวจเมื่อเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 2005 ประชากรถึง 1 ล้านคนได้จัดอยู่ในฐานะของผู้ลี้ภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในพื้นที่ฉนวนกาซา และอีกส่วนหนึ่งเป็นผู้ซึ่งอพยพมาในปี ค.ศ. 1948 ซึ่งเป็นผลหลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ และมีอัตราการเติบโตของประชากรราวร้อยละ 3.2 ต่อปี หรือคิดเป็นอันดับที่ 7 ของประเทศที่มีอัตราการเติบโตประชากรสูงที่สุดในโลก

 

ปัจจุบันยังไม่มีชาติใดให้การรับรองฉนวนกาซาว่าเป็นดินแดนที่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง บางส่วนได้ถือว่าฉนวนกาซาเป็นดินแดนภายใต้การปกครองของอิสราเอล ซึ่งอิสราเอลได้ให้การปฏิเสธหลังจากถอนทหารไปเมื่อ ค.ศ. 2005 อย่างไรก็ตามอิสราเอลได้ควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาทั้งทางน้ำและทางอากาศ

 

 ภูมิศาสตร์

ในทางภูมิศาสตร์ ฉนวนกาซาถือเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ โดยมีอาณาเขตทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นความยาวประมาณ 11 กิโลเมตรติดกับประเทศอียิปต์ ทางเหนือและตะวันออกติดกับประเทศอิสราเอลเป็นระยะทางราว 51 กิโลเมตร ทางตะวันตกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นระยะทางชายฝั่งประมาณ 41 กิโลเมตร

 

สภาพภูมิอากาศในบริเวณนี้มีความชื้นในอากาศต่ำ และมีช่วงฤดูหนาวที่ค่อนข้างอุ่น และฤดูร้อนอาจจะส่งผลรุนแรงถึงวิกฤตการณ์ภัยแล้งได้ ด้านทรัพยากรณ์ธรรมชาติ รวมถึงพื้นแผ่นดินอันอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก (ประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด) และไม่นานนี้ได้มีการขุดพบก๊าซธรรมชาติด้วย

 

 ประวัติศาสตร์

 

พรมแดนของฉนวนกาซาถูกแบ่งโดยกองทัพอิสราเอลและอียิปต์หลังจากสงครามอาหรับ-อิสราเอล ค.ศ. 1948 ซึ่งส่งผลทีหลังให้สหราชอาณาจักรเลิกการครอบครองปาเลสไตน์ หลังจากนั้นฉนวนกาซาถูกปกครองโดยอียิปต์ (อิสราเอลได้ครอบครองเป็นเวลาสั้นๆ คือ 4 เดือน ในช่วงวิกฤตการณ์คลองสุเอซ) แต่เมื่ออิสราเอลชนะสงครามหกวัน ใน ค.ศ. 1967 ฉนวนกาซาเป็นหนึ่งในดินแดนที่อียิปต์เสียให้อิสราเอลด้วย

 

ค.ศ. 1993 อิสราเอลและปาเลสไตน์ได้ตกลงกันเซ็นสนธิสัญญาออสโล ซึ่งมีใจความว่าอนุญาตให้ชาวปาเลสไตน์มีอำนาจในการปกครองตัวเอง (อย่างจำกัด) ในเขตฉนวนกาซา ใน ค.ศ. 2005 ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอาเรียล ชารอน อิสราเอลได้ดำเนินการถอนทหารและประชาชนชาวอิสราเอล ที่อาศัยอยู่ในฉนวนกาซาทั้งหมด ซึ่งหมายถึงการหมดอำนาจปกครองของอิสราเอลที่ยาวนานมาถึง 36 ปี

 

ปัจจุบันอิสราเอลยังควบคุมการเข้าออกฉนวนกาซาจากภายนอก ส่วนสถานะทางการเมืองระหว่างประเทศของฉนวนกาซายังไม่ได้ข้อยุติ โดยสามารถมองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของชาวปาเลสไตน์

 

 

 

 

 

 

                              *** กลอนหวานผ่านใจ ****

 

 

 

 

 

                        

                         "ไม่ไปได้มั๊ย?!!..."    

 

 

 

 

 

 

 

 

....คุณจะไป เเล้วใช่ไหม? ใจให้ถาม

 

พยายาม เหนี่ยวรั้งไว้ ไม่ให้หนี

 

หมดสิ้นเเล้ว วาจา ทุกท่าที

 

จบตรงนี้ กับคำลา ว่าจะไป

 

 

 

....สารภาพ ต่อเเต่นี้ ที่จะอยู่

 

ผมไม่รู้ จะอยู่นาน สักเเค่ไหน?

 

สมานเเผล ใจที่ร้าว สักเท่าใด?

 

สิ้นเเรงไร้ บอบช้ำนัก รักหลุดลอย!!...

 

 

 

 

 

สว. ติงรถเมล์ NGV คันละ 4ล้าน แพงกว่าความเป็นจริง

 

 


Posted Image
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข่าว
 

 

 

แนะเปิดราคากลางการประมูล เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน


จากกรณีที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เตรียมจะพิจารณาอนุมัติโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวี จำนวน 3,183 คัน มูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท ในการประชุมคณะรัฐมนตรีนั้น

 

วันนี้ (7ม.ค.) นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องดังกล่าว โดยระบุว่า ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยที่ทางการจะเปลี่ยนรถเมล์ใหม่จากการใช้น้ำมันดีเซลมา เป็นรถเติมก๊าซ NGV แทน แต่ขอติงว่า ราคารถเมล์ที่ตกคันละ 4 ล้านบาทนั้นสูงเกินไป

 


ซึ่งจริงๆ แล้วควรจะอยู่ที่คันละ 3ล้านจะดีที่สุด ขณะเดียวกันก็ยังเป็นห่วงในเรื่องของการประมูล เพราะเข้าข่ายการล็อคสเปค จำกัดจำนวนผู้มาประมูล เนื่องจากมีเพียงสัญญาเดียว
ดังนั้นทางที่ดีรัฐบาลควรนำความเห็นของป.ป.ช. ที่เคยได้แจ้งไปก่อนหน้านี้มาพิจารณา กล่าวคือควรแบ่งการประมูลออกเป็น 10 สัญญาๆ ละ 300 คัน และเปิดเผยราคากลางในการประมูลออกมาด้วย

 

เพื่อเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และป้องกันไม่ให้รัฐบาลตกเป็นจำเลยสังคม เหมือนกับนโยบายจำนำข้าวที่ยังไร้ความโปร่งใสอยู่ในตอนนี้

 

โครงการ "ซื้อ" รถเมล์เอ็นจีวี ของ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ 3,183 คัน ราคา 13,000 บาท

โครงการ "เช่า" รถเมล์เอ็นจีวี ของ รัฐบาลอภิสิทธิ์ 4,000 คัน ราคา 63,000 บาท

สมัย ปชป ค่าเช่าซื้อ คันละ 10ล้านบาท สว ลากตั้งเงียบ
แต่
สมัย พท ซื้อเลย คันละ 4ล้านบาท สว บอกแพงไป ต้องทำโน่นนั่นนี่

 

 รถเมล์ คันละ 4 ล้าน ท่านมาต่อเหลือ 3 ล้าน !!! ๕๕๕๕๕
แต่ ทีรถรัฐบาลก่อนๆ คันละ 16 ล้าน ท่านบอกว่า “เหมาะสมแล้วครับท่านฯ” !!!
เราจะได้เอาไปวิ่ง “บนถนนที่ไร้ฝุ่น” อีก ตระหาก !!! ๕๕๕๕๕
“อภิมหาสวาปาม” กันทั่วหน้า (รอดูเถอะ “ตอ” จะโผล่ไม่นานนี้หรอก) !!! ๕๕๕๕๕


ส่วนทักษิณเลี่ยงภาษีแต่ โดนยึด “สี่หมื่นหกพันล้าน” !!!
“สามีคุณ ตั๊ก บงกช” ขายหุ้นพร้อมทักษิณ ไม่เสียภาษีและไม่โดนยึดเลย “สักบาท” !!!
“แบบนี้เรียกว่าอะไรครับ” ?????? ๕๕๕๕๕

 

 

ความคิดเห็น

วันที่: Sat May 18 23:00:13 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>