Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ปล้นเพชรพันล้าน จี้เครื่องบินเงียบ....

ArjanPong | 21-02-2556 | เปิดดู 2819 | ความคิดเห็น 0

 

               ตำรวจเบลเยี่ยมเผยแผนปล้นเพชรใน 3 นาที

 

 

                         

 

 

 

ปล้นฟ้าผ่าเพชรพันล้านบนรันเวย์สนามบินเบลเยียม โจร 8 คนสวมชุดตำรวจและหน้ากากพร้อมปืนกลครบมือ ใช้เวลาไม่ถึง 5 นาที ฉกเพชร 120 ห่อ มูลค่าประมาณ 1,500 ล้านบาท บริษัทยอมรับถูกโจรกรรมครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์


สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อค่ำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ (ตามเวลาท้องถิ่น) เกิดเหตุปล้นเพชรอย่างอุกอาจภายในสนามบินกรุงบรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม โดยคนร้ายจำนวน 8 คน สวมเครื่องแบบของตำรวจ แต่ใส่หน้ากากปิดบังใบหน้า พร้อมด้วยอาวุธปืนกล ได้ขับรถ 2 คันพังรั้วสนามบินเข้าไปจอดเทียบรถยนต์ของบริษัทรักษาความปลอดภัย Brinks บนรันเวย์สนามบินซึ่งเพิ่งนำเพชรใส่ตู้สินค้าของสายการบินเฮลเวติกแอร์เวย์ ที่กำลังจะเดินทางไปเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์


อันจา บิสเนนส์ โฆษกสำนักงานอัยการเมืองบรัสเซลส์ แถลงว่า กลุ่มโจรทั้ง 8 คนกวาดเพชรทั้งหมดไป 120 ห่อ ซึ่งมีทั้งเพชรที่เจียระไนแล้วและยังไม่ผ่านการเจียระไน โดยใช้เวลาปล้นไม่ถึง 5 นาที และไม่ได้ยิงปืนแม้แต่นัดเดียว เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มคนร้ายได้วางแผนมาเป็นอย่างดี ผู้โดยสารบนเครื่องบินไม่ทราบเลยว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อได้เพชรไปแล้ว คนร้ายได้ขับหนีออกไปในความมืดทางรั้วที่พังเข้ามา และรถของพวกเขาคันหนึ่งพบว่าถูกเผาทิ้งไม่ไกลจากสนามบิน ขณะนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังติดตามไล่ล่าอยู่
 

สถานีโทรทัศน์วีอาร์ทีของเบลเยียมรายงานว่า อัญมณีที่ถูกปล้นไปทั้งหมดมีมูลค่าถึง 350 ล้านยูโร หรือประมาณ 14,000 ล้านบาท ขณะที่แคโรไลน์ เดอ วูล์ฟ โฆษกของศูนย์เพชรนานาชาติอันธ์เวิร์พ เจ้าของอัญมณีเลอค่าที่ถูกปล้นไป เปิดเผยว่า เพชรที่ถูกปล้นมีมูลค่าประมาณ 50 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท


"อย่างไรก็ตาม นี่คือการปล้นครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ที่เราเคยประสบ" โฆษกศูนย์เพชรอันธ์เวิร์ปกล่าว และมีความวิตกว่าอาจมีทองคำและแพลทินัมถูกกวาดไปด้วย แต่ยังไม่สามารถยืนยันข้อมูลได้


ทั้งนี้ อันธ์เวิร์ปได้ชื่อว่าเป็นเมืองศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเพชรมาเป็นเวลามากกว่าศตวรรษ มีเพชรที่ซื้อขายกันในโลกเดินทางผ่านเมืองนี้เป็นปริมาณมหาศาล คิดเป็นประมาณ 8 ใน 10 ของเพชรที่ยังไม่เจียระไน และ 5 ใน 10 ของเพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้ว
ขณะที่ศูนย์เพชรนานาชาติอันธ์เวิร์ปมีอัญมณีผ่านเข้าออกมูลค่าประมาณ 200 ล้านเหรียญฯ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาททุกวัน ปกติการรักษาความปลอดภัยจะค่อนข้างเข้มงวดมาก.

 

 

การปล้นเพชรครั้งนี้นับเป็นครั้งใหญ่ที่สุดของเบลเยี่ยม โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจเปิดเผยว่า กลุ่มคนร้าย 8 คน ได้วางแผนก่อเหตุมาอย่างดี และสวมเครื่องแต่งกายคล้ายตำรวจ ขับรถยนต์สีดำ 2 คัน บุกเข้าไปบนรันเวย์ของสนามบินนานาชาติในกรุงบรัสเซลส์ ก่อนตรงไปที่เครื่องบินของสายการบินสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งกำลังมีการขนย้ายเพชรมูลค่ากว่า 1,500 ล้านบาทของบริษัทแอนท์เวิร์บ ซึ่งเป็นบริษัทค้าเพชรรายใหญ่ของโลก ไปขึ้นเครื่องบินลำดังกล่าว

กลุ่มคนร้ายได้กระจายกำลังส่วนหนึ่งใช้ปืนจี้นักบินบนเครื่อง ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งใช้ปืนจี้คนขับรถ และพนักงานขนย้ายเพชร ก่อนจารกรรมเพชรที่มีทั้งแบบเจียระไนแล้ว และยังไม่ได้เจียระไน หลบหนีไปทางรั้วของสนามบินที่ถูกเจาะเป็นช่องไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งใช้เวลาเบ็ดเสร็จเพียง 3 นาทีเท่านั้น โดยไม่ต้องยิงปืนแม้แต่นัดเดียว ขณะที่ผู้โดยสารบนเครื่องบินก็ไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ล่าสุดทางการเบลเยี่ยมได้ส่งกองกำลังชุดพิเศษไล่ล่า และหาเบาะแสกลุ่มคนร้าย เบื้องต้นพบเพียงรถตู้ 1 คัน ที่คนร้ายใช้เป็นพาหนะ ถูกเผาทำลายหลักฐานอยู่ใกล้สนามบินเท่านั้น

 

 

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

เพชร
Brillanten.jpg
เพชรรูปกลมที่ตัดและเจียระไนอย่างงดงาม สะท้อนแสงแพรวพราวตามเหลี่ยมมุม
การจำแนก
ประเภท แร่ธรรมชาติ
สูตรเคมี C
คุณสมบัติ
มวลโมเลกุล 12.01 \text {g·mol}^{-1}
สี โดยทั่วไปสีเหลือง น้ำตาล หรือ เทา ไปจนถึงไม่มีสี น้อยครั้งที่จะเป็นสีฟ้า เขียว ดำ ขาวขุ่น ชมพู ม่วง ส้ม และแดง
รูปแบบผลึก ทรงแปดหน้า
โครงสร้างผลึก สี่เหลี่ยมจัตุรัส-สามมิติ (เหลี่ยมลูกบาศก์)
แนวแตกเรียบ 111 (สมบรูณ์แบบใน 4 ทิศทาง)
รอยแตก แตกแบบฝาหอย
ค่าความแข็ง 10
ความวาว มีความวาว
ความวาวจากการขัดเงา มีความวาว
ดรรชนีหักเห 2.418 (ที่ 500 nm)
คุณสมบัติทางแสง ไอโซทรอปิก
ค่าแสงหักเหสองแนว ไม่มี
การกระจายแสง 0.044
การเปลี่ยนสี ไม่มี
สีผงละเอียด ไม่มีสี
ความถ่วงจำเพาะ 3.52 ± 0.01
ความหนาแน่น 3.5–3.53 \text {g/cm}^3
จุดหลอมเหลว ขึ้นกับความดันบรรยากาศ
ความโปร่ง โปร่งแสง กึ่งโปร่งแสง ถึง เป็นฝ้าทึบ
อ้างอิง [1][2]
เพชรดิบ
ความหมายอื่นของ เพชร ดูได้ที่ เพชร (แก้ความกำกวม)

เพชร เป็นอัญมณีรูปแบบหนึ่งของคาร์บอน จัดเรียงตัวเป็นทรงแปดหน้า เป็นแร่ที่แข็งที่สุดตามสเกลของโมส์ (Moh's scale) มีค่าความแข็งเท่ากับ 10

เพชรมีหลายสี สีที่นิยมที่สุดคือสีขาวบริสุทธิ์ สีที่หายากคือสีแดง ฟ้า เขียว ส้ม ชมพู เรียก "แฟนซีไดมอนด์" มีราคาสูงมาก การเจียระไนเป็น 52 เหลี่ยมนับว่าสวยที่สุด เพชรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจ ความแข็งแกร่ง แหล่งของเพชรมีอยู่ทั่วโลก ส่วนมากพบที่บราซิลและแอฟริกาใต้

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ศัพท์มูลวิทยา

คำว่า เพชร ในภาษาไทย มาจาก वज्र (วชฺร) ในภาษาสันสกฤต หมายถึง สายฟ้า หรืออัญมณีชนิดนี้ก็ได้ ส่วนในภาษาอังกฤษ "diamond" มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกโบราณ αδάμας (adámas) ซึ่งมีความหมายว่า "สมบูรณ์" "เปลี่ยนแปลงไม่ได้" "แข็งแกร่ง" "กล้าหาญ" มาจาก ἀ- (a-) มีความหมายว่า "ไม่-" + δαμάω (damáō), "เอาชนะ" "ขี้ขลาด"[3] ภายหลังได้แผลงเป็น adamant, diamaunt, diamant และ diamond ในที่สุด

 

เพชรมีการกล่าวถึงและทำเหมืองเพชรครั้งแรกในประเทศอินเดีย โดยเฉพาะชั้นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำพาเป็นเวลาหลายศตวรรษตามแม่น้ำเพนเนอร์ กฤษณะ และ โคธาวารี เพชรเป็นที่รู้จักในประเทศอินเดียมาไม่น้อยกว่า 3,000 ปีแต่ไม่เกิน 6,000 ปี[4]

อัญมณีเพชรกลายเป็นสิ่งมีค่าเมื่อมีการนำไปใช้เป็นรูปเคารพทางศาสนาในอาณาจักรอินเดียโบราณ นอกจากนี้ ยังมีการใช้งานเพชรเป็นเครื่องมือแกะสลักตั้งแต่สมัยต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์อีกด้วย[5][6] ความนิยมของเพชรได้เพิ่มขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากอุปทานที่เพิ่มขึ้น เทคนิคการตัดและขัดเกลาที่ดีขึ้น การเติบโตของเศรษฐกิจโลก และการปฏิรูปและความสำเร็จของการโฆษณาเผยแพร่[7]

ในปี ค.ศ. 1772 อ็องตวน ลาวัวซีเยได้ใช้แว่นขยายรวมรังสีดวงอาทิตย์ไปบนเพชรในบรรยากาศที่มีแต่ออกซิเจน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์จากการเผาไหม้มีเพียงแต่คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นการพิสูจน์ว่าเพชรเป็นองค์ประกอบของคาร์บอน ต่อมาในปี ค.ศ. 1797 สมิทสัน เท็นแนนต์ (Smithson Tennant) ได้ทำซ้ำและเพิ่มเติมการทดลองนี้ โดยแสดงให้เห็นว่าการเผาไหม้เพชรและกราไฟท์จะปลดปล่อยก๊าซที่มีองค์ประกอบเดียวกัน สมิทสันได้สร้างสมดุลสมการเคมีของสารเหล่านี้ขึ้นมา[8]

การใช้งานเพชรส่วนมากในปัจจุบันเป็นการใช้ในเชิงอัญมณีซึ่งใช้ทำเครื่องประดับ การใช้งานในลักษณะนี้สามารถนับย้อนไปได้ถึงในสมัยโบราณ การกระจายของแสงขาวในสเปกตรัมสีเป็นลักษณะพื้นฐานทางด้านอัญมณีวิทยาของอัญมณีเพชร ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เชี่ยวชาญในด้านอัญมณีวิทยาได้พัฒนาวิธีแบ่งระดับของเพชรและอัญมณีชนิดอื่นบนพื้นฐานของลักษณะที่สำคัญในเชิงมูลค่าของอัญมณี 4 ลักษณะหรือที่รู้จักกันในชื่อ 4 ซี ถูกใช้เป็นพื้นฐานการบ่งชี้ของเพชร ประกอบด้วย กะรัต (carat) การตัด (cut) สี (color) และ ความสะอาด (clarity)[9] เพชรไม่มีตำหนิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดรู้จักกันในชื่อ พารากอน

ความคิดเห็น

วันที่: Mon May 20 02:53:42 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>