Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

เบื้องหลัง เพลงลอยกระทง

ArjanPong | 19-11-2559 | เปิดดู 1552 | ความคิดเห็น 0

 

 


                           เบื้องหลัง เพลง ลอยกระทง...

 
                            
 
 

" ครูค่ะ รบกวนช่วยเเต่งเพลงอะไรก็ได้ เพื่อเป็นเกียรติไว้เป็นที่ระลึก ที่มันง่ายๆ จะได้เข้ากับบรรยากาศของงานในค่ำคืนนี้ จะออกไปทางรำวงสนุกๆก็ได้นะค๊ะ...."

 

เด็กหนุ่มจากเเม่กลอง ที่กำลังทำความสะอาดไวโอลีน อันเป็นเครื่องดนตรีคู่ใจ อยู่ที่โรงอาหารติดเเม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านหลังของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ต้องเงยหน้าขึ้นมามองเจ้าของเสียงที่ทักเมื่อสักครู่ เเล้วยิ้มถามขึ้นมาว่า

 

" จะเอาคืนนี้เลยหรือหนู?.."

" ค่ะครู...รบกวนหน่อยนะคะ...."

" อ่ะ ได้เลย ถ้างั้นรอสักครู่....."

 

พูดจบ เด็กสาวประธานชมรมกิจกรรมนักศึกษาของมหาลัย ก็ยื่นกระดาษเปล่าพร้อมดินสอ ยางลบ ให้กับ ครู เอื้อ สุนทรสนาน เเล้วก็ยกมือไหว้ก่อนที่จะหันหลังเดินตรงไปยังหอประชุมใหญ่ ที่จะมีการเเสดงของวงดนตรีสุนทราภรณ์ในค่ำคืนหนึ่ง ของปี พ.ศ 2493

 

มือหยิบดินสอพร้อมที่จะร้อยรสพจนา ออกมาเป็นตัวอักษร สายตาครูที่ทอดมองไปยังเเม่น้ำเจ้ายาพระยา ที่ไหลเร็วเเละรุนเเรงเหลือเกินในคืนวันเพ็ญเดือน 12 ไม่ต่างอะไรกับเเม่น้ำเเม่กลอง ที่ไหลผ่านบ้าน โรงหีบ อัมพวา อันเป็นถิ่นถือกำเนิดเกิดมาของ ด.ช ละออ สุนทรสนาน หวนคิดถึงอดีตในวัยเด็กก็ซุกซนไปตามประสา จนกระทั่งพออายุได้ 9 ขวบ พ่อก็พาเข้ากรุงเทพฯ พาไปอยู่กับพี่อาบ ซึ่งเป็นพี่ชายคนโต รับราชการทำงานพากย์โขนอยู่ที่กรมมหรสพ ในตำเเหน่งหมื่นไพเราะพจมาน ในปี พ.ศ 2460

 

พี่ชายก็เลยพาไปฝากเรียนที่ โรงเรียนวัดระฆังโฆษิตาราม จนกระทั่งจบประถมศึกษา เเล้วจึงมาต่อที่โรงเรียนพรานหลวง อยู่ตรงมิกสกวัน ตอนเช้าก็เรียนสายสามัญตามปกติ ส่วนตอนบ่ายก็เรียนดนตรีล้วนๆ ซึ่ง ด.ช ละออ ก็เลือกเรียนดนตรีฝรั่งตามความถนัด โดยมีครูโฉลก เนตรสุต เป็นครูผู้ถ่ายทอดวิชาให้เป็นคนเเรก หลังจบมัธยมศึกษาปีที่ 1 พระเจนดุริยางค์ ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ เห็นเเววดนตรีของเด็กเเม่กลองคนนี้ ก็เลยบอกว่าให้เรียนดนตรีทั้งวันไปเลย ไม่ต้องมีเช้ามีบ่าย พร้อมทั้งให้ฝึก ไวโอลีน กับ เเซ็กโซโฟน เพิ่มเติมให้อีก

 

สองปีต่อมา เมื่ออายุได้เพียง 12 ขวบ ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ชัดต่อคณาจารย์ทั้งหลาย จึงได้ให้เข้ารับราชการประจำ กองเครื่องสายฝรั่งหลวงในกรมมหรสพกระทรวงวัง รับพระราชทานยศเป็น "เด็กชา" เงินเดือน 5 บาท เมื่อปี พ.ศ. 2467 กระทั่งมีความชำนาญมากขึ้นจึงได้เลื่อนขึ้นไปเล่นวงใหญ่ในปี พ.ศ. 2469 เงินเดือนเพิ่มเป็น 20 บาท และ 2 ปีต่อมาก็ได้รับพระราชทานยศ "พันเด็กชาตรี" และ "พันเด็กชาโท" ในปีถัดไป

 

ถือว่าเป็นอัจฉริยะภาพ ทางดัานดนตรีเหนือกว่าใครๆในรุ่นเลยก็ว่าได้ ฉะนั้น การที่เด็กสาวประธานชมรมกิจกรรมนักศีกษาฯได้มาขอความอนุเคราห์ ช่วยเเต่งเพลงเพื่อเป็นเกียรติไว้เป็นที่ระลึกของทางคณะ ในค่ำคืนของวันเพ็ญเดือน 12 จึงไม่ใช่เรื่องที่รบกวนอะไรใหญ่โตเลยซะทีเดียว

 

" ครูเเก้ว สั่งกับข้าวไว้หรือยังล่ะ...."

" ยังไม่ได้สั่ง มีอะไรเหรอ?..."

 

ครูเอื้อ ร้องทัก เเก้ว อัจฉริยะกุล หนึ่งในสมาชิกทีมงานของวงดนตรี ซึ่งเป็นเจ้าของละครวิทยุชื่อดัง คณะเเก้วฟ้า ที่กำลังเดินผ่านจะไปสั่งข้าวกินในโรงอาหารอยู่พอดี

 

" เด็กเขาขอให้ช่วยเเต่งเพลงเกี่ยวกับวันลอยกระทง เพื่อเป็นเกียรติกับคณะเขาหน่อย..."

" เอาซิ...งั้นก็เเต่งทำนองมา......"

 

ใครจะไปรู้ได้ว่า บทเพลงที่ ครูเอื้อเป็นคนเเต่งทำนอง ครูเเก้วเป็นคนเเต่งคำร้อง โดยใช้ชื่อเพลงว่า ลอยกระทง นั้น จะโด่งดังไปทั่วโลก เเม้กระทั่งปัจจุบันนี้ ลูกเด็กเล็กเเดงก็สามารถร้องตามกันได้หมด ทั้งๆที่ใช้เวลาเเต่งเพียง 23 นาที เท่านั้น!!!...

 

 

 

(ป้อง นสพ.สยามโพลล์)

 

 

**********************

ความคิดเห็น

วันที่: Sat Apr 20 15:31:01 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>