Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ไร้ญาติขาดมิตร!! ชีวิตจริงของ"เจ้าเเม่บัวลอย" วัดชลอ!!

ArjanPong | 14-11-2561 | เปิดดู 1943 | ความคิดเห็น 0

*** ข่าวพลังภูผา...***
ไร้ญาติขาดมิตร!! ชีวิตจริงของ"เจ้าเเม่บัวลอย" วัดชลอ!!
www.arjanpong.com
#ข่าวพลังภูผา #ธรณีสัณฑฆาต
...เพลง...

@ สุดคลองบางกอกน้อย พายเรือตามหาบัวลอย
จนเหงื่อพี่ย้อยโทรมกาย
ปากพี่ตะโกนกู่ ถึงยอดชู้ เพื่อนร่วมกาย
ไม่รู้ว่าเจ้าจมหาย ลอยไปแห่งใดเล่าหนา

ใจพี่แทบขาดแล้ว มือคงยังจ้ำยังแจว
ตามหานางแก้วดวงตา
ศพน้องเจ้าลอยล่อง อยู่ใต้ท้องสุธารา
หรือว่าลอยออกนอกเจ้าพระยา 
จึงค้นหาไม่พบศพบัวลอย

โถ เจ้าว่ายน้ำไม่เป็น ยังลงว่ายเล่น
เพียงเห็นชื่นเย็นนิดหน่อย
น้ำเชี่ยวยิ่งเหลือ เจ้าจึงเป็นเหยื่อคลองบางกอกน้อย
จิตใจพี่ให้เศร้าสร้อย ถึงบัวลอยแม่จอมขวัญ

สุดหล้าสุดฟ้าเขียว เธอเป็นแม่พระองค์เดียว
ที่เหนี่ยวใจรักคงมั่น
เจ้าสิ้นใจต่อหน้า ด้วยพี่คว้าเจ้าไม่ทัน
เหมือนพี่พิฆาตเด็ดดวงชีวัน
จอมขวัญนงนุชสุดบูชา @

...ตำนาน...

จากเมื่ออดีตกาลนานมาแล้วมีสตรีตั้งท้องคนหนึ่งชื่อ "บัว" ต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผัวโดยการทำขนมขาย แม้ผัวจะห้ามปรามอย่างไรก็ไม่ฟัง เมื่อผัวไปทำงานก็จะทำขนมใส่เรือแล้วพายไปขายในคลอง ชาวบ้านที่จะซื้อก็จะตะโกน "บัวจ๋า..บัวลอยมาทางนี้หน่อย" และด้วยขนมทำจากกระทิ เมื่อทำเสร็จแล้วก็เอาลงเรือขายเลย ประกอบกับฝีมือการทำขนม ที่มีความอร่อยจนติดอกติดใจชาวบ้าน จนใครๆก็เรียกเธอว่า "บัวลอย"


วันหนึ่งเมื่อผัวกลับจากทำงานไม่เห็นเมียสุดที่รัก จึงพายเรือตามหานางบัว พร้อมกับร้องตะโกนว่า "บัวลอย บัวลอย" แต่ก็ไม่พบแม้แต่เรือของเธอ หลังจากนั้นไม่นานก็มีคนพบศพเธอลอยไปติดอยู่ที่ท่าเรือของวัดในคลอง จึงมีการนำขึ้นมาทำพิธีตามศาสนา และด้วยความเชื่อของคนไทยที่ว่า ถ้าตายท้องกลมผีจะเฮี้ยน จึงไม่ได้มีการเผาแต่แค่ฝังเอาไว้ และมีบางคนมาขอหวยปรากฎว่าถูกจนโด่งดังไปทั่วผู้คนถูกหวยเป็นว่าเล่น


แต่แล้วเช้าวันหนี่งศพของนางบัวก็หายไป คาดว่าเจ้ามือหวยคงมาทำการขุดศพเอาไปทิ้งและสะกดวิญญาณไว้ หลังจากนั้นตำนานบัวลอย ก็เริ่มถูกลืมเลือนไปตามกาลเวลา แต่นี้ก็เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมาของคลองบางกอกน้อย และได้มีการนำมาแต่งเป็นเพลง โดยพิพัฒน์ บริบูรณ์ ได้เเต่งเพลงนี้ขึ้นมาโดยใช้ชื่อเพลงว่า"ศพลอย"

เอาไปให้ ทูล ทองใจ,นริศ อารีย์,ชรินทร์ นันทนาคร ฯลฯ ไม่มีใครยอมร้อง เพราะเนื้อหาของเพลงมีศพลอยน้ำมาด้วย อีกอย่างในปี พ.ศ 2503 ครูพิพัฒน์ ก็ยังเป็นนักเเต่งเพลงโนเนมที่ยังไม่มีศิลปินก้มกราบหมอบคลานเข้าไปขอเพลง จึงไม่มีใครยอมร้องเพลงนี้ จนกระทั่งปี 2504 ที่เพลง"ผู้ใหญ่ลี"โด่งดังนั่นเเหละ ถึงจะมีลูกศิษย์ลูกหาเคล้าเเข้งเคล้าขาเลียกันเเผลบๆ จนขนหน้าเเข้งของครูร่วงซะเกลี้ยงเกลา

เห็นว่าไม่มีใครยอมร้องเเน่ เลยไปจ้าง ชัยชนะ บุญณโชติ ตอนนั้นอายุ 18 ปี อยู่กับวงพยงค์ มุกดา ให้มาร้องเพลงนี้โดยจ้างด้วยทองคำหนัก 2 บาท ช่วยร้องให้ที ก็เลยดังเปรี้ยงป้างจนกระทั่งถึงทุกวันนี้


ในปัจจุบัน ก็มีศาลของเจ้าแม่บัวลอย ก็ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ในวัดชลอ ตั้งอยู่เลขที่ 33 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยพระครูปลัดทนงค์ เจ้าอาวาสวัดชลอ รูปปัจจุบัน ก็ได้เล่าถึงตำนานของเจ้าแม่บัวลอยถึงความเฮี้ยนของเจ้าแม่บัวลอย เมื่อตายไปก้ได้นำศพมาต้มเพื่อเลาะเอากระดุกมาร้อย แล้วนำไปให้นักเรียนศึกษาผู้ปฎิบัติธรรม ได้ใช้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน ฝึกปฎิบัติอสุภกรรมฐานจนกระทั่งปัจจุบันนี้

ครูพิพัฒน์ บริบูรณ์ เคยเล่าให้ฟังว่าความจริงเเล้ว"เเม่นางบัวลอย"ไม่ใช่เป็นคนพื้นเพที่นี่ เเต่มากับเรือโยงลากจูงที่ขึ้นล่องเจ้าพระยา จนกระทั่งเธอเป็นไข้สูง คนในเรือเห็นว่าอาการหนักมากจึงพากันยกร่างของเธอมาไว้ที่บนศาลาริมน้ำของวัด ให้หลวงพ่อช่วยฝากผีฝากไข้ให้หน่อย เเล้วพวกเขาจะรีบไปบอกผัวของเธอ ให้มาดูเเลอาการต่อไป

จนกระทั่งว่าผ่านไปเป็นเดือน เธอก็ตายเเล้วศพของเธอก็เก็บไว้รวมๆกันกับศพไม่มีญาติที่ป่าช้าท้ายวัด จนวันหนึ่งมีชายคนหนึ่งท่าทางคงจะเป็นผัว เเละคนอื่นๆอีก 2-3 คน มาตามหาเธอ พอรู้ว่าเธอตายเเล้วก็ไม่มีอาการเเสดงความเสียอกเสียใจอะไรกันเลย พอหลวงพ่อเผลอเเป๊ปเดียว คนกลุ่มนั้นก็หนีหายกันไปหมด!!

ฉะนั้นบทเพลงนี้กับตำนานของบัวเลย จึงไม่ตรงกับความเป็นจริงไปเสียทั้งหมด!!

..............

รายการ : #ข่าวพลังภูผา #ธรณีสันฑะฆาต
Radio online : www.arjanpong.com
FM 89.75 MHz. #พระนครศรีอยุธยา 
Time : 06.00-08.00 น./17.00-19.00 น ทุกวัน 
โทร/line : 0898129392
Email : arjanpong123

ความคิดเห็น

วันที่: Sun May 19 09:14:01 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>