Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

"กินเหล้า เจ้าชู้ สู้นาย" เบื้องหลังกวีเอกของโลก!!

ArjanPong | 28-02-2562 | เปิดดู 1780 | ความคิดเห็น 0

 

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329

- พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย

 

ก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแผ่นดินไปสู่ช่วงพระเพทราชา ท่านชีปะขาวได้ให้ลูกศิษย์ส่งที่บางกอกน้อย

แล้วท่านก็หายตัวไปจากตรงนั้น จากนั้นมาก็ไม่มีใครพบเห็นท่านอีกเลย เหล่าลูกศิษย์จึงร่วมกัน

สร้างวัดโดยตั้งชื่อว่า “วัดชีปะขาวหาย” ซึ่งเป็นวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน

 

วัดศรีสุดาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหารตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อยฝั่งตะวันตก

เลขที่ 83 แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 13 ไร่ 1 งาน

20 ตารางวา ประวัติความเป็นมา วัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดชีปะขาว 

 

เครื่องอัฐบริขารต่าง ๆ ครั้งเมื่อ สุนทรภู่ บวชอยู่ที่ วัดเทพธิดาราม กรุงเทพมหานคร

 

"กินเหล้า เจ้าชู้ สู้นาย" เบื้องหลังกวีเอกของโลก!!
www.arjanpong.com
#สุนทรภู่ #พระอภัยมณี #ระยอง 
สุนทรภู่ นามเดิมคือภู่ เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ที่บ้านริมคลองบางกอกน้อยใกล้กับพระราชวังหลัง ฝั่งธนบุรี พ่อของสุนทรภู่จะชื่ออะไรไม่ปรากฏ รู้แต่ว่าเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง (อยู่ในจังหวัดระยองปัจจุบัน) มาแต่งงานอยู่กินกับแม่ของ สุนทรภู่ ซึ่งก็ไม่ทราบชื่ออีกเช่นกัน พอเกิดมาอายุยังไม่เต็มขวบ พ่อกับแม่เลิกกันตั้งแต่วัยเด็ก พ่อของ สุนทรภู่ กลับบ้านเดิมที่เมืองแกลง บวชเป็นภิกษุ ส่วนแม่นั้นได้สามีใหม่พร้อมๆกับได้งานราชการ คือ เป็นพระนมพระธิดาองค์หนึ่งของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข คือ วังหลังจึงติดตามแม่เข้าไปอยู่ในวังหลัง และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังบวรพิมุขด้วย

เมื่อโตพอเรียนหนังสือได้ สุนทรภู่ ถูกส่งไปยังสำนักวัดชีปะขาว หรือวัดศรีสุดาราม คลองบางกอกน้อยใกล้กับพระราชวังหลัง พอเริ่มเป็นหนุ่ม สุนทรภู่ ได้ทำงานเป็นเสมียนนายระวาง กรมพระคลังสวน มีงานคือคอยเก็บอากรสวนและวัดระวาง แม้จะได้งานราชการมั่นคงดี แต่ สุนทรภู่ เบื่อเพราะใจชอบทางหนังสือคือแต่งกลอนมากกว่า เลยลาออกจากกรมพระคลังสวนกลับมาอยู่วังหลังตามเดิมด้วยเป็นข้าวังหลังอยู่แล้ว

ที่นี่สุนทรภู่ได้พบรักครั้งแรก หญิงที่สุนทรภู่ติดใจนักหนาชื่อ จัน เป็นข้าราชบริพารในวังหลังเช่นเดียวกัน ทั้งสองลอบรักใคร่แต่ไปไม่รอดความแตก กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงกริ้วให้ลงอาญาจองจำคนทั้งสองไว้ คนทั้งสองถูกจองจำอยู่ไม่นานนัก ก็ได้รับอิสรภาพ ด้วยเหตุที่กรมพระราชวังหลังทิวงคต แต่ สุนทรภู่ ก็เจออุปสรรครักอีก เพราะว่าที่พ่อตาไม่ชอบหน้า เนื่องจากมีผู้สูงศักดิ์คนหนึ่งหมายปองนางจันอยู่ก่อน แต่เห็นทีนางจันจะไม่ชอบ กลับมีใจเอนเอียงมาทาง สุนทรภู่ มากกว่า สุนทรภู่ คงถูกบีบจนต้องออกเดินทางอย่างเร่งร้อนไม่ทันได้ร่ำลาคู่รัก มุ่งสู่เมืองแกลงหวังไปบวชและไปหาพ่อ แต่โชคไม่ดี สุนทรภู่ เกิดเป็นไข้ป่า อาการหนักเกือบตายต้องรักษาตัวนานเป็นเดือนเลยไม่ได้บวช และสุดท้ายเดินทางกลับกรุงเทพฯ

สุนทรภู่ กลับเข้ากรุงและเข้ารับราชการในวังหลังอีกครั้ง และที่สุดก็ได้แต่งงานอยู่กับนางจัน สมปรารถนา เพราะอัครชายาของกรมพระราชวังหลัง ทรงยกนางจันประทานให้ แม้เมื่อ สุนทรภู่ ได้ลูกชายคนแรก ก็ทรงรับไปเลี้ยงดู แต่ชีวิตคู่ของ สุนทรภู่ไม่ราบรื่นเหมือนคนอื่นเพราะ สุนทรภู่ ดื่มสุราเมามายเป็นอาจิณ นางจันจึงขอแยกทางเดิน สุนทรภู่ เร่ร่อนไปถึงเมืองเพชร ไปร่วมงานกับศิลปินละครคณะนายบุญยัง โดยรับหน้าที่เป็นคนบอกบท ละคร คณะนายบุญยังนี้ว่ากันว่ามีชื่อเสียงโด่งดังมาก

ที่สุดก็เบื่อ สุนทรภู่ กลับเข้ากรุงอีก คราวนี้โชคดีมีโอกาสรับราชการในวังหลวง และเพราะเป็นกวีที่เขียนกลอนได้รวดเร็วกับมีปฏิภาณดีเยี่ยม จึงก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกวีที่ปรึกษาของ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น ขุนสุนทรโวหาร

จากวังหลังมาอยู่วังหลวงชีวิตก้าวหน้าขึ้น แต่ สุนทรภู่ ยังคงดื่มสุราเมามายอยู่ วันหนึ่งไปหาแม่ขณะเมาสุรา แม่จึงกล่าวตักเตือนแต่ สุนทรภู่ กลับแสดงอาการก้าวร้าว ญาติผู้ใหญ่เข้าห้ามปราม สุนทรภู่ กลับทุบตีทำร้าย จนญาติผู้ใหญ่ท่านนั้นได้รับบาดเจ็บ ความทราบถึงรัชกาลที่ ๒ พระองค์โปรดฯ ให้ลงโทษติดคุก

ต่อมารัชกาลที่ ๒ ทรงติดขัดในพระราชนิพนธ์บทละครหาคนแต่งต่อให้ถูกพระราชหฤทัยไม่ได้ จึงให้เบิกตัวสุนทรภู่มาแต่งต่อให้ สุนทรภู่ จึงได้รับพระราชทานอภัยโทษตั้งแต่นั้น เชื่อกันว่าเพชรแห่งวรรณคดีไทย คือนิทานคำกลอนเรื่อง ? พระอภัยมณี ? สุนทรภู่ เริ่มแต่งตอนติดคุกอยู่นี้เอง

เมื่อพ้นโทษออกมา สุนทรภู่ จึงประพฤติตัวดีขึ้น นอกจากจะรับราชการเป็นกวีที่ปรึกษาแล้ว ยังมีหน้าที่สอนหนังสือเจ้าฟ้าอีก ๒ พระองค์ด้วย หลังจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสวยราชย์เป็น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ สุนทรภู่ อยู่ไม่ได้เพราะรู้เต็มอกว่าพระองค์ท่านไม่โปรด จึงไปบวชอาศัยพระศาสนาคุ้มภัย เมื่อขาดราชการหนีหายไปเฉยๆ สุนทรภู่ เลยถูกปลดจากราชการ ถูกถอดยศถาบรรดาศักดิ์กลายเป็น ? นายภู่ ? ราษฎรเต็มขั้น คนที่รู้จักมักคุ้นจึงเอาบรรดาศักดิ์ ? ขุนสุนทรโวหาร ? ผนวกเข้ากับชื่อตัว คือ ? ภู่ ? เรียกขานว่า ? สุนทรภู่ ? มาจนบัดนี้

แม้จะบวชเป็นภิกษุแล้ว แต่ชีวิตก็ไม่ค่อยปกติสุขนัก สุนทรภู่ ต้องย้ายวัดบ่อยๆ จากวัดเลียบ ต้องอธิกรณ์ (ผิดวินัยพระ)ถูกขับจากวัด ชีวิตของ สุนทรภู่ ตอนนี้ นับว่าระหกระเหินมาก สุนทรภู่ มาบวชใหม่อีกและจำพรรษาที่วัดแจ้ง ชีวิตเริ่มดีขึ้นเล็กน้อย เมื่อได้เจ้านายอุปถัมภ์ให้เป็นครูสอนหนังสือพระโอรสของพระองค์ จากวัดแจ้ง สุนทรภู่ ย้ายวัดอีกคราวนี้ไปอยู่วัดโพธิ์ จากวัดโพธิ์ย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุ และจากวัดมหาธาตุย้ายไปอยู่วักเทพธิดาราม

เมื่อสิ้นบุญเจ้านายที่เคยอุปถัมภ์ สุนทรภู่ สึกมาใช้ชีวิตฆราวาส แต่ต้องเผชิญกับสภาพยากจน ถึงขั้นเกือบจะเป็นคนหลักลอยต้องอาศัยอยู่ในเรือทำมาค้าขายเล็กๆน้อยๆ ด้วยการพายเรือไปตามเรือกสวน ขายของยังชีพไปวันๆ ขณะเดียวกันก็รับจ้างแต่งเพลงยาวบ้าง พอมีรายได้ แต่ที่สำคัญคือ งานกลอนของ สุนทรภู่ เป็นที่ติดใจของหนอนหนังสือสมัยนั้น จนมีบางคนมาขอจดมาขอลอกไปอ่านบ่อยๆ สุนทรภู่ ก็ได้ค่าเรื่องจากคนที่มาขอลอกไปนั่นเอง นับว่า สุนทรภู่ เป็นกวีคนแรกที่สามารถขายงานประพันธ์ของตนเลี้ยงตนเองได้ อีกนัยหนึ่ง สุนทรภู่ คือ นักประพันธ์อาชีพคนแรกของเมืองไทยนั่นเอง

หลังจากตกทุกข์ได้ยากมานาน สุนทรภู่ ได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้านาย คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์พระองค์หนึ่ง และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพอีกพระองค์หนึ่ง ชีวิตจึงค่อยกระเตื้องขึ้น

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชสมบัติ ดวงของ สุนทรภู่ รุ่งโรจน์มาอีกครั้งหนึ่ง เพราะเจ้านายที่ทรงอุปการะ สุนทรภู่ คือ เจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกษัตริย์พระองค์ที่ ๒ สุนทรภู่กลายเป็น ? พระสุนทรโวหาร ? เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ในบั้นปลายแห่งชีวิตนี้เอง

สุนทรภู่ มีชีวิตอันเปี่ยมด้วยลาภ ยศ อีกครั้งหนึ่งเมื่ออายุ ๖๖ ปี ครั้น พ.ศ. ๒๓๙๘ สุนทรภู่ก็ถึงแก่กรรม รวมอายุได้ ๗๐ ปี.....

Credit : 
https://teen.mthai.com/variety/37535.html

ความคิดเห็น

วันที่: Mon May 20 16:06:27 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>