Support
Arjan Pong
035 323239, 035 323240, 089 8129392
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

ราชินีผู้อาภัพ!!

ArjanPong | 04-03-2562 | เปิดดู 1333 | ความคิดเห็น 0

 

          

  สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี บรมราชินี พระอัครมเหสีใน

  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

          

  สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ

  ทรงพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

 

          

  วัดโสมนัสวิหารราชวรวิหาร หรือ วัดโสมนัสวิหาร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็

  พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

  ภายในอุโบสถและพระวิหารมีภาพจิตกรรฝาผนังอันงดงาม 

 

ราชินีผู้อาภัพ!!
www.arjanpong.com
#สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัส #ราชวงศ์จักรี 
สตรีสำคัญในประวัติศาสตร์พระองค์นี้ ก็คือ สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี บรมราชินี พระอัครมเหสีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงกำพร้าพระบิดาเมื่อพระชนมายุเพียง ๖ เดือน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระเมตตาให้รับมาอุปถัมภ์ในพระบรมมหาราชวัง ก็ยังทรงประสบเรื่องโศกเศร้ามาตลอด

สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีพระนามเดิม หม่อมเจ้าหญิงโสมนัส พระธิดาพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๓๗๗ เมื่อพระชนมายุได้ ๖ เดือน พระบิดาก็สิ้นพระชนม์

นายแพทย์สมิธ มัลคอล์ม แพทย์หลวงในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้เขียนหนังสือไว้ใน “ราชสำนักสยาม ในทรรศนะหมอสมิธ” ซึ่งกรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ มีความตอนหนึ่งว่า

"ครั้นเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบแทน พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนาง ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า นับแต่นี้ต่อไป พระองค์เจ้าโสมนัสจะต้องทรงอยู่โดยปราศจากผู้คุ้มครอง จึงทรงพระเมตตาและสมควรที่จะสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน

ข้อเสนอดังกล่าวได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ เนื่องจากทุกฝ่ายต่างก็ทราบดีว่า พระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่เพิ่งลาสิขา (หลังจากที่ทรงใช้ชีวิตอยู่ในเพศบรรพชิตนานถึง ๒๗ ปี) และยังมิได้ทรงสถาปนาสตรีคนใดขึ้นเป็นพระมเหสีโดยถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อจะได้มีรัชทายาทไว้สืบทอดราชบัลลังก์ในภายภาคหน้า

พระราชพิธีสถาปนาดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒ มกราคม พ.ศ.๒๓๙๕ ขณะพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดีพระชนมายุ ๑๘ พรรษา และพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๔๘ พรรษา นับจากวาระที่ทรงดำรงพระยศเป็นพระอัครมเหสี พระองค์ทรงได้รับการถวายพระเกียรติอันสูงส่ง ทั้งโดยส่วนพระองค์และราชการแผ่นดินจากพสกนิกรชาวสยามทั้งมวล

แต่ทว่าเพียงชั่วระยะเวลา ๖ เดือนหลังจากที่พระองค์ทรงตั้งครรภ์ ความสมบูรณ์พูนสุขทั้งหลายก็มีอันสิ้นสุดลง อนิจจา! อาจเป็นด้วยเคราะห์กรรมบันดาล (อำนาจแห่งพระผู้เป็นเจ้า บาปบุญคุณโทษและภูตผีปีศาจบันดาลให้เป็น) เคราะห์ร้ายจึงบังเกิดขึ้นกับพระองค์ ๆ ทรงมีพระอาการประชวร ซึ่งแต่แรกทั้งแพทย์หลวงและแพทย์ชาวต่างประเทศต่างก็ลงความเห็นว่า เป็นพระอาการที่มีผลมาจากการตั้งครรภ์ เช่นเบื่ออาหาร อาเจียน ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้

นับจากวันจันทรคราสที่ ๑ กรกฎาคม พระอาการประชวรดูเหมือนจะจะกลับฟื้นคืนดีมาได้ราว ๔๐ วัน ครั้นพระครรภ์ล่วงเข้า ๖-๗ เดือน พระอาการประชวรก็กลับกำเริบขึ้นมาอีก ล่วงเข้าวันที่ ๑๘ สิงหาคม พระอาการประชวรรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งวันที่ ๒๑ สิงหาคม (เวลา ๑.๐๐ นาฬิกา) สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีจึงทรงมีพระสูติกาลพระราชโอรสโดยปลอดภัย พระราชโอรสทรงกันแสงและแสดงพระอาการเฉกเช่นทารกโดยทั่วไป แต่ทว่าทรงมีพระพลานามัยอ่อนแอมาก พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางทั้งหลายได้มาประชุมพร้อมกันที่จะรับเสด็จรัชทายาทองค์ใหม่ มีการจัดพระอู่ทองถวายพร้อมด้วยเครื่องศาสตราวุธ สมุด ดินสอ และอื่นๆตามแบบแผนพระราชประเพณี แต่อนิจจา! พระราชโอรสผู้อ่อนแอทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ได้เพียง ๓ ชั่วโมง ก็สิ้นพระชนม์ลงเมื่อเลา ๔ นาฬิกา ของวันเดียวกัน

เจ้าพนักงานได้มาอัญเชิญพระกุมารออกไปเงียบๆ ปล่อยให้พระมารดาทรงเข้าพระทัยว่าพระราชโอรสยังทรงมีพะชนม์ชีพอยู่ แต่ประทับอยู่ในห้องอีกห้องหนึ่ง ในคืนเดียวกันนั้นเอง

ภายใต้การถวายการดูแลรักษาของหมอบรัดเลย์ พระอาการไข้ตลอดจนคลื่นไส้อาเจียนจึงพอทุเลาลงบ้าง พระอาการของโรคยังคงปรากฏบ่อยครั้งต่อเนื่องกันนาน ๗-๘ วัน จนถึงวันที่ ๒๘ สิงหาคม สมเด็จพระราชินีจึงทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระโอรส ๗ วันหลังจากเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว

นับจากวันที่ ๒๙-๓๐ สิงหาคมเป็นต้นมา พระอาการเริ่มทรุดหนักลงเรื่อยๆ ทรงอาเจียนออกมาเป็นน้ำสีดำปนเหลือง และทรงมีอาการไข้แทรกด้วย และในวันที่ ๑๗ กันยายน ทรงมีพระอาการเพ้อพร่ำหาพระราชโอรสอยู่ตลอดเวลา จวบจนกระทั่งสวรรคต..."

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอาลัยในสมเด็จพระอัครมเหสีเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดให้สร้างวัดพระราชทานเป็นอนุสรณ์ คือ วัดโสมนัสวิหาร

ข้อมูลที่เกิดขึ้นนี้ มีปรากฏอยู่ในพงศาวดารอยู่เพียง ๓ บรรทัด ความว่า

“สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าโสมนัส ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติภายหลังบรมราชาภิเษกแล้ว เจ้าฟ้าพระองค์นี้สิ้นพระชนม์ตั้งแต่วันประสูติ ซึ่งถ้าหากยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ก็จะส่งผลให้สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ทรงหมดโอกาสที่จะเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน”

Credit : กรมศิลปากร

ความคิดเห็น

วันที่: Mon May 20 15:14:53 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

 <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/_jUHKM1YHcc" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>